เปลี่ยนทรายกรองน้ำประปาหมู่บ้าน

ทำความสะอาดแท้งค์สูงล้างระบบประปา

เปลี่ยนทรายกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตั้งและเปลี่ยนสารในถังกรอง

ติดตั้งถังกรอง

เปลี่ยนสารกรองน้ำ

เปลี่ยนสารกรองน้ำโรงงานอุตสาหกรรม

เปลี่ยนสารกรองน้ำ เปลี่ยนสารกรองน้ำ
free glitter text and family website at FamilyLobby.com

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มาตรฐานคุณภาพน้ำ


มาตรฐานคุณภาพน้ำ
น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในชีวิตมนุษย์ เพราะเราไม่สามารถที่จะขาดน้ำได้ในการดำรงชีวิต และในโลกนี้ยังมีปริมาณน้ำถึงสามในสี่ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด แต่น้ำที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ก็คือน้ำจืดที่มีอยู่ไม่ถึงร้อยละ10 ของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก ซึ่งแหล่งน้ำที่เรานำมาใช้นี้ได้มาจาก 2 ส่วน คือ แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่เราสามารถผลิตน้ำประปาได้
เมื่อเราได้แหล่งน้ำดิบแล้ว ถึงแม้ว่าเราจะดูด้วยตาว่าน้ำดิบนี้สะอาดแต่แท้ที่จริงแล้วอาจมีสารปนเปื้อน ที่ไม่ปลอดภัยในการนำมาอุปโภคบริโภคจึงควรที่จะมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ เสียก่อน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานน้ำบริโภค
คุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับ การบริโภค ควรเป็นน้ำที่ปราศจากสี กลิ่น รส ความขุ่น สารพิษ เชื้อโรค และมีปริมาณเกลือแร่ที่เหมาะสม ดังนั้นการตรวจคุณภาพน้ำที่ใช้ในการบริโภค ต้องตรวจลักษณะทางกายภาพ เคมี สารพิษ และแบคทีเรีย มาตรฐาน คุณภาพน้ำเพื่อบริโภค ซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจเดี่ยวกับน้ำ
  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (2524) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท
  2. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (2521) เรื่องกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค (มอก.257-2521)
  3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (2542) เรื่องมาตรฐานน้ำบาดาลที่ใช้บริโภคได้
คุณภาพน้ำมีความสำคัญเท่าๆกับปริมาณหากมีปริมาณน้ำมากแต่คุณภาพไม่ ดี จะไม่เกิดประโยชน์ คุณภาพไม่ดีจะเป็นโทษ เช่น น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจะมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ดังนั้นก่อนนำน้ำมาใช้ต้องตรวจวิเคราะห์ก่อน มาตรฐานคุณภาพน้ำจะแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าน้ำที่เราใช้ในปัจจุบันมีคุณภาพตามมาตรฐานหรือ ไม่



ระบบน้ำดิบของการประปา

ระบบน้ำดิบของการประปา
น้ำดิบ : หมายถึง น้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ที่จะนำมาบำบัด ( Treatment หรือ Purify) ให้เป็นน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำต่างๆ ที่กำหนด เมื่อกล่าวถึง ระบบน้ำดิบ ของระบบประปา จะประกอบด้วย ระบบเก็บสำรองน้ำดิบ ระบบสูบน้ำดิบ(Intake หรือ Pumping facilities) และระบบส่งน้ำดิบ (Transmission facilities)
1.ระบบเก็บสำรองน้ำดิบ (Water Storage Facilities)
น้ำดิบเพื่อการประปาจะต้องมีปริมาณพอเพียงตลอดทั้งปีทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่ปีเป้าหมายของโครงการ (Target Year) แหล่งน้ำดิบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแหล่งน้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำ คลอง หนองบึง เป็นต้น จะมีปริมาณน้ำเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล บางครั้งในฤดูแล้งแหล่งน้ำดังกล่าวอาจมีปริมาณน้ำน้อย หรือไม่มีเลย ทำให้เกิดปัญหากับระบบประปา ในกรณีดังกล่าวมีความจำเป็นต้องปรับปรุงพัฒนา แหล่งน้ำดังกล่าวให้มีปริมาณพอเพียงแก่ความต้องการของระบบประปา โดยการก่อสร้างระบบเก็บน้ำดิบซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อการประปา เป็นต้น การก่อสร้างระบบเก็บสำรองน้ำดิบดังกล่าวจำเป็นต้องพิจารณาให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้อย่างเพียงพอ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตำแหน่งที่ตั้งมีความเหมาะสมในระบบสูบน้ำดิบ ปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อคุณภาพน้ำดิบ

ระบบประปาเคลื่อนที่ ทำงานอย่างไร




ระบบประปาเคลื่อนที่ ทำงานอย่างไร
ระบบประปาเคลื่อนที่ ที่กรมทรัพยากรน้ำ นำไปให้บริการให้พี่น้องหลายหมู่บ้านในช่วงที่มีวิกฤตการน้ำท่วม เพื่อทำน้ำสะอาดให้ดื่มใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้น จำลองมาจากระบบประปาขนาดใหญ่อย่างเต็มรูปแบบ ครบถ้วนจนทำให้สามารถผลิตน้ำประปา หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มสำหรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้เลย
ในปีงบประมาณ 2549 นี้ กรมทรัพยากรน้ำ ได้รับการสนับสนุนระบบประปาเคลื่อนที่ 2 ระบบ จากองค์การยูนิเซฟ คือ
  1. ระบบที่ใช้การกรองแบบเมมเบรน (RO) ใช้สำหรับบริเวณที่มีความขุ่นน้อย แต่มีสารบางอย่างมาก เช่น สำหรับน้ำทะเล เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง
  2. ระบบที่ใช้กับน้ำทั่วไป เช่นน้ำผิวดิน และน้ำบาดาล
รายละเอียดวิดิโอ ชนิดแฟ้มวิดิโอ .wmv ขนาด 640*480 จุด/หน้าจอ ความยาว 2 นาที 14 วินาที ขนาดแฟ้ม 12.5 Mb.
(ใช้เวลาดาวน์โหลดนานประมาณ 40 นาที ที่ความเร็วโมเด็ม 56
K)

แหล่งน้ำผลิตน้ำประปามีคุณค่า ควรช่วยกันดูแลและรักษา

แหล่งน้ำผลิตน้ำประปามีคุณค่า ควรช่วยกันดูแลและรักษา
                เจริญชัย จิรชัยรัตนสิน
วิศวกร 5
ไพรัช
แก้วจินดา
พนักงานตรวจทานข้อมูล
                 
         แหล่งน้ำดิบ คือแหล่งน้ำที่เราใช้ผลิตน้ำประปา แหล่งน้ำดิบที่สะอาด มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการผลิตน้ำประปา
ปัจจุบัน น้ำเป็นปัจจัยที่มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อการดำรงอยู่นั้นมีคุณภาพลดลงเรื่อยๆ เนื่องมาจากฝีมือของมนุษย์เอง ไม่ว่าจะเป็นของเสียที่มนุษย์ผลิตขึ้นจากการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น สิ่งขับถ่ายของมนุษย์ ขยะมูลฝอย ฯลฯ จากโรงงานอุตสาหกรรม หรือจากการเกษตรก็ตาม ทั้งหมดสามารถสร้างผลกระทบต่อแหล่งน้ำดิบที่จะนำมาใช้ผลิตน้ำประปาให้เราใช้ทั้งสิ้น

ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
                                                                                                               เจริญชัย จิรชัยรัตนสิน
วิศวกรปฏิบัติการ

           ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นระบบแบบอิสระ (PV Stand Alone System) อีกรูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีระบบประปาหมู่บ้าน แต่มีแหล่งน้ำที่สะอาดและมีน้ำเพียงพอ โดยมีปริมาณสูบน้ำได้วันละประมาณ 20 ลูกบาศก์เมตร สำหรับการอุปโภคและบริโภค หรือเพื่อการปลูกพืช ผักสวนครัว ริมรั้วในเขตบ้าน โดยมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งระบบ ดำเนินการบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์ เพื่อความยั่งยืนของระบบ มีรูปแบบลักษณะของระบบ ดังนี้

รู้จัก ประปาสนาม กันเถอะ

รู้จัก ประปาสนาม กันเถอะ
ย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า น้ำสะอาดมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์และสัตว์เป็นอย่างมาก ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือธรณีพิบัติ ที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ซึ่งจะมีผลต่อการมีน้ำสะอาดไว้บริโภคและอุปโภค ดังนั้นเราจึงต้องมีการเตรียมพร้อมที่จะให้ประชาชนผู้เดือดร้อนมีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาด เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี อันจะเป็นการป้องกันเบื้องต้นที่จะไม่ให้มีการเกิดโรคระบาดตามมา
ระบบประปาสนาม เป็นระบบที่ทำให้น้ำสะอาดในภาวะฉุกเฉิน ที่สามารถประกอบและติดตั้งระบบประปาเพื่อให้ใช้งานได้ในระยะเวลาสั้นๆ ณ บริเวณที่มีความต้องการน้ำสะอาด โดยมีการนำน้ำมาผ่านกระบวนการต่างๆ เช่นการตกตะกอน การกรอง และการฆ่าเชื้อโรค เพื่อแจกจ่ายน้ำสะอาดแก่ประชาชนผู้เดือดร้อนได้อย่างทันท่วงที
การเลือกชนิดของประปาสนาม จะแตกต่างกันขึ้นไปขึ้นอยู่กับชนิดของแหล่งน้ำที่ใช้
ถ้าใช้แหล่งน้ำจากน้ำผิวดิน หรือน้ำบาดาล หรือใช้น้ำบริเวณนั้นๆ ในกรณีน้ำท่วม ซึ่งเป็นน้ำจืด จะใช้กรรมวิธีตกตะกอนเพื่อขจัดความขุ่นก่อน จากนั้นผ่านกระบวนการกรอง โดยใช้ไส้กรองสำเร็จรูป หรือสารกรองต่างๆ เช่น คาร์บอนกัมมันต์ (Activated Carbon) หรือ สารไดอะตอมไมท์ ซึ่งสามารถกรองสิ่งสกปรกและกำจัดกลิ่นได้ด้วย แต่ละชนิดของระบบกรอง จะมีตัวกรองที่แตกต่างกันไป และขบวนการสุดท้ายคือการฆ่าเชื้อโรค อาจใช้การผ่านแสงอุลตราไวโอเล็ต (UV) หรือใช้สารคลอรีน บางห่างใช้แสง UV แล้วตามด้วยการเติมคลอรีนอีก เพื่อไว้ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคที่อาจมีการปนเปื้อนภายหลัง จากนั้นจึงจ่ายน้ำให้ประชาชนใช้ต่อไป


วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ถังกรองทรายแบบใช้ความดัน

ถังกรองแบบใช้ความดันจากปั้มสูบน้ำ(Pressure Filtration) คือการกรองน้ำที่ใช้ปั้มสูบน้ำอัด
น้ำผ่านสารกรองน้ำ ลักษณะของถังกรองแบบนี้จะปิดมิดชิด ข้อดีของการกรองแบบนี้คือ สามารถควบคุมความ
ดันภายในถังได้ตามที่ต้องการเพื่อที่จะส่งน้ำไปตามจุดต่างๆที่ห่างไกลออกไปได้โดยไม่ต้องใช้ปั้มสูบน้ำเพิ่มเติม
แบบถังกรองทรายที่ใช้แรงดันจากธรรมชาติ(Gravity Filtration) ถังกรองทรายหรือแอนทราไซต์ทำหน้าที่กรอง
ดักอนุภาคสารแขวนลอยหลงเหลือมากับน้ำที่ออกมาจากถังตกตะกอน โดยการผ่านน้ำเข้าไปยังชั้นกรองซึ่งมีรู
พรุน วัสดุกรองที่ใช้โดยทั่วไปได้แก่ ทรายหรือแอนทราไซต์ ทั้งนี้อนุภาคสารแขวนลอยดังกล่าวอาจเป็นอนุภาค
ของแข็งที่แขวนลอยหรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำดิบ การประยุกต์ใช้ระบบกรองน้ำในกระบวนการผลิตน้ำสามารถทำ
ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำดิบและสิ่งเจือปนที่ต้องการกำจัดออกจากน้ำ

ถังกรองทรายหรือแอนทราไซต์


ถังกรองทรายหรือแอนทราไซต์ทำหน้าที่กรองดักอนุภาคสารแขวนลอยหลงเหลือมากับน้ำที่
ออกมาจากถังตกตะกอน โดยการผ่านน้ำเข้าไปยังชั้นกรองซึ่งมีรูพรุน วัสดุกรองที่ใช้โดยทั่วไปได้แก่ ทรายหรือ
แอนทราไซต์ ทั้งนี้อนุภาคสารแขวนลอยดังกล่าวอาจเป็นอนุภาคของแข็งที่แขวนลอยหรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำดิบ
การประยุกต์ใช้ระบบกรองน้ำในกระบวนการผลิตน้ำสามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำดิบและ
สิ่งเจือปนที่ต้องการกำจัดออกจากน้ำ

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เครื่องกรองน้ำชาวบ้าน

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดย ศจ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก ได้คิดค้นเครื่องกรองน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์แบบประหยัด ด้วยวิธีการ ง่าย ๆ และลงทุนในราคา 300-400 บาท

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปรับปรุงคุณภาพน้ำ

คุณภาพของน้ำที่ใช้ดื่ม ต้องคำนึงถึงสิ่งที่เจือปนอยู่ในน้ำ ซึ่งคุณภาพหรือคุณสมบัติของน้ำ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ หรือทางกายภาพ
2. คุณสมบัติทางเคมี
3. คุณสมบัติทางบักเตรี

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554