เปลี่ยนทรายกรองน้ำประปาหมู่บ้าน

ทำความสะอาดแท้งค์สูงล้างระบบประปา

เปลี่ยนทรายกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตั้งและเปลี่ยนสารในถังกรอง

ติดตั้งถังกรอง

เปลี่ยนสารกรองน้ำ

เปลี่ยนสารกรองน้ำโรงงานอุตสาหกรรม

เปลี่ยนสารกรองน้ำ เปลี่ยนสารกรองน้ำ
free glitter text and family website at FamilyLobby.com

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขุยมะพร้าว บำบัดน้ำเสีย


กระทรวงวิทย์ฯ ห่วงสถานการณ์มลพิษทางน้ำ หวั่นทำลายสุขภาพประชาชน เผยนักวิจัยใช้แสงซินโครตรอนตรวจสอบ พบขุยมะพร้าวช่วยกรองโลหะหนักในน้ำเสียได้ เล็งต่อยอดกำหนดแนวทางลดมลพิษจากอุตสาหกรรม ลดต้นทุนระบบบำบัดน้ำเสีย เพิ่มมูลค่าขุยมะพร้าวเหลือทิ้ง
ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะมลภาวะทางน้ำ จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปริมาณโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งยังขาดระบบการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะปัจจัยในการลงทุนของระบบบำบัดมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
จากปัญหาดังกล่าวซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัด เร่งหาแนวทางในการฟื้นฟูและบำบัดมลพิษ
ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร. สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันแสงซินโครตรอน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า แสงซินโครตรอน เป็นแสงที่มีพลังงานและความเข้มแสงสูงกว่าแสงอาทิตย์ถึงล้านเท่า และครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟาเรดจนถึงรังสีเอกซ์ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย

อย่างเช่นในงานวิจัยชิ้นนี้ทางสถาบันฯ ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ได้นำแสงซินโครตรอนมาศึกษากลไกการดูดซับโลหะนิกเกิลด้วยขุยมะพร้าว โดยใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ซึ่งจากผลการวิจัยจึงพบว่า โครงสร้างของขุยมะพร้าวมีประสิทธิภาพและสามารถดูดซับนิกเกิลได้ดี
นอกจากนี้ยังสามารถชะล้างเอาโลหะนิกเกิลกลับคืนเพื่อนำไปใช้ใหม่ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดของเสียอันตราย เนื่องจากขุยมะพร้าวสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ โดยผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมชุบโลหะในขั้นตอนการชุบนิกเกิลได้ ซึ่งในปัจจุบันใช้สารเคมีในการบำบัดและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีกทั้งขุยมะพร้าวจัดเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ดังนั้นการค้นพบครั้งนี้จึงสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของวัสดุทางการเกษตรในอนาคต
ล่าสุด ทางสถาบันฯ ได้ทำการลงพื้นที่ทดสอบขุยมะพร้าว เพื่อการบำบัดน้ำเสียกับโรงงานอุตสาหกรรมชุบโลหะ ในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ขุยมะพร้าวสามารถดูดซับโลหะหนักได้ดีทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียลงได้ รวมถึงทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยการใช้สารเคมีบางชนิด เช่น สารละลายด่าง ผสมลงไปกับขุยมะพร้าวด้วย
ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการดูดซับและจับโลหะหนักทำได้ดีมากขึ้น สำหรับผลงานวิจัยดังกล่าว ทางสถาบันจะทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาการผลิตตัวดูดซับโลหะหนักสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียที่จะใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆต่อไป
ผู้สนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สายด่วน 1313 หรือสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 044 217 040 ต่อ 1251-2
ขอบคุณข้อมูลจาก
eureka.bangkokbiznews.com

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

ปูนขาว'ดับกลิ่น เห็นผลเร็วกว่าจุลินทรีย์อีเอ็ม


นักวิชาการเชียงใหม่แนะเทคนิคบำบัดน้ำเสียจากน้ำท่วมขัง เริ่มจากกำหนดอาณาเขตและค้นหาสาเหตุ ก่อนลงมือบำบัด ระบุกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลสามารถแก้ปัญหาได้เกือบครึ่ง ส่วนกลิ่นเหม็นแก้ด้วย "ปูนขาว" ทดสอบเห็นผลเร็วกว่าจุลินทรีย์อีเอ็ม ด้าน ม.ขอนแก่นอิงประสบการณ์แก้น้ำท่วมขังจากเขื่อนระบายน้ำเกินชู 3 เทคนิค "คลอรีน เครื่องเติมอากาศ จุลินทรีย์"
ผศ.ปฏิรูป ผลจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า พื้นที่น้ำท่วมขังภาคกลางซึ่งคาดว่าจะมีพื้นที่น้ำเสียประมาณ 50% ของพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด ถือเป็นน้ำเสียแบบไม่รู้ที่มาชัดเจน เพราะมวลน้ำไหลมาเป็นระยะทางไหล พร้อมกวาดเศษซากนานาชนิดติดมาด้วย วิธีการบำบัดจึงต้องพิจารณาแบ่งเป็นโซนเพื่อดูสาเหตุของน้ำเสียและลงมือบำบัดด้วยวิธีที่เหมาะสม
ยกตัวอย่างที่พักอาศัยในเขตดอนเมือง มีน้ำท่วมขัง 3-4 สัปดาห์ เริ่มเน่าและส่งกลิ่น จะต้องหาสาเหตุความเน่าเสีย ซึ่งพบว่าเป็นสารอินทรีย์ที่ไหลมาพร้อมน้ำและท่วมขังอยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ซากพืช ซากสัตว์ สิ่งปฏิกูลจากบ่อเกรอะที่ไหลออกมาพร้อมน้ำท่วม ขยะที่ทิ้งลงน้ำ รวมถึงพฤติกรรมส่วนตัว เช่น การปัสสาวะหรืออุจจาระลงในน้ำ
การแก้ไขเบื้องต้นควรจะเริ่มจากการลดสารอินทรีย์ในน้ำ ด้วยการขับถ่ายของเสียลงในห้องน้ำฉุกเฉินหรือถุงพลาสติก และลดการทิ้งขยะลงน้ำ

BioClean มข.แจกไบโอคลีนบำบัดน้ำเสีย




BioClean คือผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากกระบวนการหมักดอกไม้ 14 สายพันธุ์ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ดอกบัว พุทธรักษา สนใจติดต่อรับได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ขอนแก่น เวลาราชการ
 หลายจังหวัดในประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทกภัย  เกิดสภาพการน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่  ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย 
จากปัญหาดังกล่าว  รศ.ดร สิทธิ์ศักดิ์  อุปริวงค์  อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  คณะเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จึงได้จัดโครงการบริการเทคโนโลยีไบโอคลีนและปุ๋ยน้ำชีวภาพสู่ชุมชนขึ้นเพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาดังกล่าว  โดยการผลิตน้ำชีวภาพไบโอคลีน เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย  และส่งมอบให้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปใช้ในการช่วยเหลือด้านอุทกภัยต่อไป  โดยมีเป้าหมายผลิตเพื่อนำไปช่วยเหลือในเบื้องต้นจำนวน 4,000  ลิตร
            สำหรับไบโอคลีน (BioClean)  คือ ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพชนิดหนึ่งที่ผลิตจากกระบวนการหมักดอกไม้หลากหลายชนิดนานาพันธุ์ จำนวน 14 สายพันธุ์ อาทิ ดอกกุหลาบ ดอกดาวเรือง ดอกพุทธรักษา ดอกบัว ฯลฯ นำมาผ่านกระบวนการหมักผสมผสานกับแหล่งสารอาหาร เช่น กากน้ำตาล ฯลฯ ทำการหมักโดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพ  เช่น หัวเชื้อจุลินทรีย์ปุ๋ยน้ำชีวภาพ มข.1 (KKU.1) หรือ หัวเชื้อจุลินทรีย์ปุ๋ยน้ำชีวภาพไบโอเทค-1 (Biotech-1) เป็นต้น ส่วนการใช้งานสามารถนำน้ำชีวภาพไบโอคลีน เทลงในน้ำท่วมขัง ในอัตราส่วนน้ำชีวภาพไบโอคลีน1:น้ำท่วมขัง 2000 ลิตร

สกว.พัฒนาระบบกำจัดของเสียโรงงานแปรรูปยางพาราครบวงจร





น้ำทิ้งและของเสียนับเป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราทั้งโรงงานผลิตน้ำยางข้นและยางแท่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนปั่นเหวี่ยงน้ำยางและการใช้น้ำจำนวนมากเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกในกระบวนการผลิต น้ำทิ้งและของเสียดังกล่าวหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้างซึ่งมักปรากฏเป็นข่าวร้องเรียนอยู่เสมอขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็มีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการติดตั้งจัดวางระบบบำบัดของเสียภายในโรงงานให้ได้มาตรฐาน ส่งให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

เครื่องกังหันรูพรุนบำบัดน้ำเสียด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์และถ่านกัมมันต์จากผักตบชวา

โครงการระบบบำบัดน้ำเสียแบบกังหันรูพรุนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์และถ่านกัมมันต์จากผักตบชวา (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

ขอบคุณที่มาhttp://www.bangkokidea2012.com/finaldetail.php?chkID=6

ถ่านอัดแท่งจากกากมะพร้าว+กะลามะพร้าวฝีมือนักวิจัย มทร.ธัญบุรี


แม้ว่าปัจจุบันนี้ ความนิยมในการใช้ถ่านสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจะน้อยลงเนื่องจากมีเชื้อเพลิงอย่างอื่นมาทดแทนในครัวเรือน ทั้งไฟฟ้า แก็ส และน้ำมัน หากแต่ในบางท้องที่ หรือบางครัวเรือนหรือบางกิจการก็ยังต้องอาศัยถ่านในการหุงต้มกันอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากว่า สมัยนี้ถ่านที่ได้จากฟืนไม้ไม่ได้หาได้ง่ายๆดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นวัตถุดิบอื่นๆมาใช้ทำถ่านทดแทนไม้ ซึ่งวัตถุดิบชนิดนั้นต้องเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย มีราคาไม่แพง สามารถให้ถ่านที่มีคุณภาพได้ดีเทียบเท่าถ่านจากไม้ฟืน และวัตถุดิบชนิดนั้นก็คือ มะพร้าวนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร.ศิริชัย ต่อสกุล ผศ.กุณฑล ทองศรี และอ.จงกล สุภารัตน์ นักวิจัยจาก ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้คิดค้น ถ่านอัดแท่งจากมะพร้าวขึ้น ซึ่งถ่านอัดแท่งที่คิดขึ้นได้จะเป็นอย่างไร เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ถ่านอัดแท่งที่คิดขึ้นเป็นการนำเอากากมะพร้าวที่ทำการเผาแล้วกับกะลามะพร้าวที่เผาและทำการบดละเอียดแล้วมาผสมนำเอาเข้าเครื่องอัดแท่งออกมาเป็นถ่านอัดแท่ง










อันตราโซนิคกำจัดสาหร่ายพิษ

         ผศ.ดร.สิริแข พงษ์สวัสดิ์ และคณะนักวิชาการและนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เปิดเผยถึงการใช้เครื่องอัลตราโซนิคกำจัดสาหร่ายพิษว่า แรกเริ่ม เราต้องทำความรู้จักกับสาหร่ายพิษก่อน ซึ่งในที่นี้ คือสาหร่ายพิษ Microcystis spp.ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สร้างสารพิษไมโครซิสติน อันเป็นสารที่มีผลต่อตับ ก่อให้เกิดตับอักเสบและเร่งการเกิดมะเร็งของตับ นอกจากจะเกิดขึ้นกับคนแล้ว พิษของสาหร่ายชนิดนี้ยังมีผลโดยตรงต่อสัตว์น้ำหรือสัตว์บกที่ไปบริโภคน้ำที่มีสาหร่ายชนิดนี้อยู่

                                            ผศ.ดร.สิริแข และทีมวิจัย


                       สถานที่เจ็บตัวอย่าง
        ดังนั้นเพื่อศึกษาชนิด ปริมาณ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญอย่างรวดเร็วของ Microcystis spp. และสาหร่ายชนิด-อื่นๆ รวมถึงคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะนำมาสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษของแหล่งน้ำได้และศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องอัลตราโซนิคในการกำจัดสาหร่ายพิษ ทีมนักวิจัยจึงได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกรมช่างโยธาทหารอากาศ กองทัพอากาศ และบริษัท O.K.D Environment Co.,Ltd และบริษัท CS Global Trade Co.,Ltd ที่ได้อนุเคราะห์เครื่องอันตราโซนิค ในการกำจัดสาหร่ายพิษ