เปลี่ยนทรายกรองน้ำประปาหมู่บ้าน

ทำความสะอาดแท้งค์สูงล้างระบบประปา

เปลี่ยนทรายกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตั้งและเปลี่ยนสารในถังกรอง

ติดตั้งถังกรอง

เปลี่ยนสารกรองน้ำ

เปลี่ยนสารกรองน้ำโรงงานอุตสาหกรรม

เปลี่ยนสารกรองน้ำ เปลี่ยนสารกรองน้ำ
free glitter text and family website at FamilyLobby.com

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

สกว.พัฒนาระบบกำจัดของเสียโรงงานแปรรูปยางพาราครบวงจร





น้ำทิ้งและของเสียนับเป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราทั้งโรงงานผลิตน้ำยางข้นและยางแท่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนปั่นเหวี่ยงน้ำยางและการใช้น้ำจำนวนมากเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกในกระบวนการผลิต น้ำทิ้งและของเสียดังกล่าวหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้างซึ่งมักปรากฏเป็นข่าวร้องเรียนอยู่เสมอขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็มีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการติดตั้งจัดวางระบบบำบัดของเสียภายในโรงงานให้ได้มาตรฐาน ส่งให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

ผศ.ดร.ชลธี ชีวะเศรษฐธรรม และผศ.ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากโครงการวิจัยแห่งชาติยางพารา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยความร่วมมือกับองค์การสวนยาง (อสย.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินร์ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิธีจัดการของเสียภายในโรงงานแปรรูปยางพารา ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัดแต่มีประสิทธิภาพสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับโรงงานอีกด้วย
วิธีที่นักวิจัยคิดค้นขึ้นในงานวิจัยเป็นกระบวนการทางชีวภาพ โดยใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสงร่วมกับสาหร่ายน้ำจืดปล่อยในบ่อบำบัดน้ำเสีย แบคทีเรียและสาหร่ายจะดึงธาตุอาหารและสารเคมีในน้ำเสียไปใช้เป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี นำกลับไปหมุนเวียนใช้ในโรงงานได้อีก
หลังจากนั้นแบคทีเรียและสาหร่ายจะถูกกำจัดทิ้งโดยนำมาเป็นอาหารเลี้ยง “ไรแดง” สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งซึ่งใช้ร่วมกันในกระบวนการบำบัดซึ่งไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติของลูกปลา ลูกกุ้ง โดยผลผลิตไรแดงที่ได้สามารถนำไปจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีราคาจำหน่ายตั้งแต่กิโลกรัมละ 80-100 บาท นอกจากนี้งานวิจัยยังได้พิสูจน์ตรวจสอบแล้วว่าไรแดงที่ได้จากกระบวนการน้ำทิ้งมีความปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อระบบห่วงโซ่อาหารในระยะยาว
สำหรับ “กากขี้แป้ง” ของเสียในรูปของแข็งซึ่งเกิดจากกระบวนการปั่นเหวี่ยงในการผลิตน้ำยางข้น พบว่าอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะฟอสฟอรัสซึ่งมีปริมาณสูงเทียบเท่ากับปุ๋ยฟอสเฟตที่ใช้ทั่วไป
นักวิจัยจึงได้นำกากขี้แป้งผสมกับวัสดุอื่นๆ ในอัตราส่วนที่เหมาะสมพัฒนาเป็นสูตร “วัสดุปรับปรุงดิน” ที่ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ช่วยเร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืชหรือใช้เป็นวัสดุรองก้นหลุมสำหรับกล้าพืชต่างๆ โดยผลิตในรูปแบบเม็ดบรรจุถุงที่เก็บรักษาและนำไปใช้ง่าย ทั้งนี้วัสดุปรับปรุงดินที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยฟอสเฟตนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งในแต่ละปีมูลค่ากว่าหลายพันล้านบาท จึงช่วยลดต้นทุนของเกษตรกร ในขณะที่โรงงานสามารถลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมกับสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียกลับมาเป็นรายได้หมุนเวียนแก่โรงงาน
ระบบบำบัดของเสียด้วยวิธีชีวภาพจากงานวิจัยนี้ได้มีการทดสอบและถ่ายทอดให้กับโรงงานหลายแห่งนำไปใช้ อาทิ โรงงานผลิตน้ำยางข้นขององค์การสวนยาง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราชบริษัทพัทลุง พาราเท็กซ์ จำกัด จ.พัทลุง บริษัทไทยอีสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด จ.ชลบุรี และบริษัทดี.เอส. รับเบอร์ แอนด์ ลาเท็กซ์ จำกัดจ.ระยอง
ผลที่ได้พบว่าใช้ได้ดีกับทุกแห่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบจัดการของเสียของโรงงาน โดยสามารถติดตั้งเพื่อทดแทนระบบเติมอากาศ และระบบบำบัดด้วยสารเคมีที่โรงงานใช้อยู่เดิมซึ่งช่วยให้โรงงานประหยัดต้นทุนค่าติดตั้ง ค่าบริหารค่าไฟฟ้าและสารเคมี รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี วิธีการนี้ยังมีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียได้ดีกว่าการใช้จุลินทรีย์อีกทั้งติดตั้งง่ายสามารถปรับใช้ร่วมกับระบบเดิมที่โรงงานมีอยู่
อาทิ ระบบบ่อเติมอากาศและระบบแก๊สชีวภาพ ได้เป็นอย่างดีขณะเดียวกันผลผลิตไรแดงและวัสดุปรับปรุงดินจากกากขี้แป้งที่ได้ในกระบวนการกำจัดของเสีย โรงงานสามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียจากเดิมที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อกำจัดทิ้ง
วิธีจัดการของเสียในด้วยกระบวนการทางชีวภาพจากงานวิจัยนี้ช่วยให้โรงงานแปรรูปยางพาราสามารถจัดการ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียทั้งในรูปของเหลว (น้ำเสีย) และของแข็ง (กากขี้แป้ง)จึงเท่ากับว่ากิจการสามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบยางธรรมชาติได้ทุกส่วนโดยเกิดของเสียน้อยที่สุดหรือหรือไม่มีของเสียเลยนับเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยด้านยางพาราที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในลักษณะบูรณาการและครบวงจร


ขอบคุณแหล่งข้อมูล http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/492720