เปลี่ยนทรายกรองน้ำประปาหมู่บ้าน

ทำความสะอาดแท้งค์สูงล้างระบบประปา

เปลี่ยนทรายกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตั้งและเปลี่ยนสารในถังกรอง

ติดตั้งถังกรอง

เปลี่ยนสารกรองน้ำ

เปลี่ยนสารกรองน้ำโรงงานอุตสาหกรรม

เปลี่ยนสารกรองน้ำ เปลี่ยนสารกรองน้ำ
free glitter text and family website at FamilyLobby.com

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

lime ปูนขาว ไลม์ (lime)


  

ปูนไลม์ (Lime) หมายถึง ปูนสุก (Quicklime: CaO) ปูนขาว (Hydrated lime: Ca(OH)2) และปูนไลม์ไฮดรอลิกซึ่งอยู่ในรูปลักษณะต่างๆ กันทั้งทางเคมีและกายภาพ ส่วนหินปูน (Limestone) หมายถึงหินชั้น หรือหินตะกอนที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3)เป็นส่วนใหญ่ เมื่อนำหินปูนมาเผาจะได้ปูนสุกที่มีขนาดต่างๆ ขึ้นกับชนิดหินปูน เตาเผาที่ใช้ และวิธีปฏิบัติต่อจากการเผา เมื่อนำปูนสุกมาทำปฏิกิริยากับน้ำจะได้ คัลเซียมไฮดรอกไซด์ ส่วนที่เป็นผงแห้งก็คือปูนขาว และส่วนที่เป็นสารแขวนลอยก็คือน้ำปูนไลม์ (Milk of lime)ปูนไลม์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายด้านเช่น ด้านการเกษตร ปูนไลม์ช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างในดิน ทำให้แบคทีเรียบางชนิดในดินเปลี่ยนไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ให้โทษซึ่งชอบเจริญในดินกรด รวมทั้งช่วยปรับโครงสร้างดินให้ร่วนไถพรวนได้ง่ายขึ้น มาตรฐานปูนไลม์ที่ใช้ในการเกษตรคือ มอก. 223-2520 

เรื่องวัสดุพวกปูนไลม์เพื่อการเกษตร                          
ด้านการบำบัดน้ำ ช่วยแก้น้ำกระด้าง 
โดยปูนไลม์เข้าไปทำปฏิกิริยากับสารเคมี ที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำกระด้าง กลายเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำตกะกอน
ออกมา ตามสมการดังนี้

กรณีน้ำกระด้างชั่วคราวที่เกิดจากไบคาร์บอเนตของแคลเซียมและแมกนีเซียม
                                                   Ca (HCO3)2 + Ca (OH) 2 = 2 CaCO3 ตกตะกอน+ 2 H2O
                                     Mg (HCO3)2 + 2 Ca (OH) 2 = Mg (OH) 2 ตกตะกอน + 2 CaCO3 ตกตะกอน+ 2 H2O
กรณีน้ำกระด้างถาวรที่เกิดจากสารประกอบคลอไรด์ สารประกอบซัลเฟต และสารประกอบไนเตรตของ
แคลเซียมและแมกนีเซียม
                                                      MgCl2 + Ca (OH) 2 = 2 Mg(OH)2 ตกตะกอน+ CaCl2
                                                   CaCl2+ Na2CO3 (Soda ash) = CaCO3 ตกตะกอน+ 2 NaCl

อุตสาหกรรมก่อสร้าง (Building and Construction) หินปูนและปูนไลม์นำไปใช้ในการก่อสร้างโดยตรงเช่น การสร้างถนนใช้เป็นสารตัวเติมในยางแอสฟัลต์สำหรับราดถนน ใช้ผสมทราย ทำปูนฉาบ ปูนสอสำหรับงานก่อ ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ มีมาตรฐานกำหนดคุณสมบัติของปูนไลม์ที่ใช้อยู่หลายมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศเช่น มอก. 241-2520 ปูนไลม์เพื่อการก่อสร้าง British Standard 890-1972 เรื่องSpecification for Building Limes  อุตสาหกรรมกระดาษ ปูนไลม์ใช้ในการผลิตสารที่ใช้ในการผลิต เช่น ใช้ผลิต Sodium hydroxide(โชดาไฟ) ที่ใช้ในกระบวนการย่อย ใช้ผลิตสารฟอกขาว (Bleaching liquor) โดยเติมคลอรีนผสมกับน้ำปูนไลม์ ใช้ผลิต Satin White โดยผสม Aluminium sulfate กับน้ำปูนไลม์ และใช้ผลิต Precipitated chalkหรือ Precipitated calcium carbonate (PPC) ที่ใช้เคลือบกระดาษ โดยการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในน้ำปูนไลม์ อุตสาหกรรมเคมี ปูนไลม์ถูกใช้ในกระบวนการผลิตสารเคมีหลายชนิด เช่น โซดาไฟ (Sodiumhydroxide) จาก Lime-soda process โดยปูนไลม์ทำปฏิกิริยากับโซดาแอช (Sodium carbonate) ได้โซดาไฟและแคลเซียมคาร์บอเนตชนิดตกตะกอน แคลเซียมคาร์ไบด์ได้จากการผสมปูนขาวกับถ่านโค๊กแล้วให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 2000oC การทำให้กรดซิตริกบริสุทธิ์ขึ้น โดยเติมปูนขาวในสารละลายกรดซิตริกที่กรองแล้ว ทำให้ Calcium citrate ตกตะกอนออกมา นำตะกอนนั้นไปทำปฏิกิริยากับ Sulfuric acid อีกทีหนึ่ง ผลิตโซดาแอช (Sodium carbonate) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในอุตสากรรมการผลิตแก้ว สบู่ สิ่งทอ และสารเคมี โดย Solvay or Ammonia-soda process อุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอาง ปูนไลม์เข้าไปมีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อม ใช้ปูนขาวดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผักและผลไม้สดปล่อยออกมา เพื่อยืดอายุการเก็บ การผลิตน้ำตาล เติมน้ำปูนไลม์ลงในน้ำเชื่อม เพื่อสะเทินกรด ทำให้สิ่งเจือปนที่ละลายในน้ำเชื่อมตกตะกอนใช้ผลิตสารที่ใช้เติมในผลิตภัณฑ์ เช่น Calcium phosphate ที่เป็น food additive Calcium lactate, Calcium mandelate ที่ใช้ผลิตยา ปูนไลม์ที่ใช้ต้องมีความบริสุทธิ์สูง ตามมาตรฐานที่กำหนดเช่น British Pharmacopoeiaอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ต้องใช้ปูนไลม์ที่มีความบริสุทธิ์สูง เป็นตัวช่วยดึงสารเจือปนต่างๆ เพื่อผลิตเหล็กคุณภาพสูง นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ปูนไลม์เข้าไปเกี่ยวข้องเช่น ปูนไลม์เป็นสาร intermediates ในการผลิตสีย้อม เป็นสารตัวเติมในอุตสาหกรรมยาง เซรามิกส์ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง1. Stowel, F. P. Limestone as a raw material in industry. London: Oxford University Press,
1963, p. 30-52.
2. National Lime Association. Other industrial and chemical uses. Available:
http://www.lime.org/ENV02/Other802.htm. 10 March 2003.
3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนไลม์ เล่ม 1 บทนิยาม
เกี่ยวกับปูนไลม์และหินปูน มอก. 202 เล่ม 1-2520 หน้า 1-6.
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ขอบคุณ ที่มา
http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/sti_4_2546_lime.pdf