เปลี่ยนทรายกรองน้ำประปาหมู่บ้าน

ทำความสะอาดแท้งค์สูงล้างระบบประปา

เปลี่ยนทรายกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตั้งและเปลี่ยนสารในถังกรอง

ติดตั้งถังกรอง

เปลี่ยนสารกรองน้ำ

เปลี่ยนสารกรองน้ำโรงงานอุตสาหกรรม

เปลี่ยนสารกรองน้ำ เปลี่ยนสารกรองน้ำ
free glitter text and family website at FamilyLobby.com

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Chlorine ประเภทของคลอรีน


คลอรีน   (Cl  เป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่มฮาโลเจน (กลุ่มO) ในตารางธาตุ มีลักษณะเป็นก๊าช สีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นฉุน ไม่พบในธรรมชาติประวัติ
ค.ศ. 77  Pliny  ชาวโรมันได้ทำการทดลองทางเคมีเพื่อแยกทองคำบริสุทธิ์ พบว่าเกิดจากสารไฮโดรเจนคลอไรด์  ( กรดเกลือซึ่งมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ: 
HCI )
ค.ศ.720-810  Geber  นักเคมีชาวอาหรับพบว่าเมื่อให้ความร้อนแก่กรดกัดทอง ( 
HNO3 1ส่วน ผสมกับ  HCI  3 ส่วน) จะได้ก๊าซชนิดหนึ่งมีกลิ่นฉุนแต่ไม่ทราบว่าเป็นก๊าซคลอรีน
ค.ศ. 1774   Karl W.Scheele  นักเคมีชาวสวีเดน ได้รับเกียรติว่าเป็นคนแรกที่ค้นพบก๊าซคลอรีน โดยการเผาส่วนผสมของแมงกานีสไดออกไซค์ 
 (MnO3  ) และกรด HCI  ตามสมการ

MnO3 + 4Hci                           MnCl+ Cl2+2H2O

ค.ศ. 1814   Sir Humphry Davy ประกาศว่าก๊าซของ Scheele เป็นธาตุบริสุทธิ์ และให้ชื่อว่า chlorine ซึ่งมาจากภาษากรีก chloros ซึ่งมีความหมายว่า เหลืองแกมเขียว
ค.ศ. 1830   Michsel Faraday ผลิตและแยกคลอรีนได้จากระบวนการไฟฟ้าเคมีElectrolytic Cell
ค.ศ. 1900    การผลิตก๊าซคลอรีนในช่วงนี้ ใช้เซลไฟฟ้าระบบปรอท (Mercury Electrolytic Cell) และระบบได้อะแฟรม (Diaphragm Electrolytic Cell)
ค.ศ. 1923    มีการนำก๊าซคลอรีนมาใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียเป็นครั้งแรกที่มลรัฐเพนซิลวาเนียร์
ค.ศ. 1930    อุตสาหกรรมเคมีเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ได้มีการนำคลอรีนมาใช้งานอย่างกว้างขวางนอกเหนือจากคุณประโยชน์ในด้านการฟอกสีและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
                    ปัจจุบันคลอรีน ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตพลาสติก PVC (Polyvinyl Chloride) ใช้ผลิตน้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นส่วนประกอบของเคมีกำจัดศัตรูพืชจำพวก ออร์กาโนคลอรีน
ข้อมูลทั่วไปของคลอรีน
                คลอรีนสภาวะอุณหภูมิและความดันปกติ จะอยู่ในรูปก๊าซสีเขียวตองอ่อนในสภาวะภายใต้ความดันจะเปลี่ยนเป็นของเหลวสีอำพัน ในสภาพแห้งคลอรีนจะไม่กัดกร่อนโลหะแต่ถ้ามีความชื้นอยู่ด้วยการกัดกร่อนจะรุนแรงไม่ ระเบิดและติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติดเหมือนก๊าซออกซิเจน

                คลอรีนที่อยู่ในภาชนะบรรจุเป็นคลอรีนแห้ง และมีสภาพเป็นของเหลวอยู่ภายใต้ความดันสูง โดยความดันจะสูงขึ้นตามอุณหภูมิ เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นส่วนที่เป็นของเหลวบริเวณส่วนล่างของภาชนะบรรจุจะเปลี่ยนสภาพเป็นก๊าซ ตัวอย่างเช่นที่อุณหภูมิ 35 OC ความดันของก๊าซคลอรีนในภาชนะบรรจุจะเท่ากัน 10 เท่าของความดันบรรยากาศ ถ้าอุณหภูมิสูงถึง 65 OC ความดันก๊าซภายในจะเท่ากับ 20 เท่าของความดันบรรยากาศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อภาชนะบรรจุ ดังนั้นควรเก็บภาชนะบรรจุคลอรีนในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทสะดวก

สมบัติทางฟิสิกส์

  •  สภาพก๊าซ สีเขียวตองอ่อน สภาพของเหลว สีเหลืองอำพัน
  •  กลิ่นฉุนแสบจมูก
  •  จุดหลอมเหลว 101 OC
  •  จุดเดือน  34.6 OC
  •  เปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นก๊าซปริมาตรเพิ่มขึ้น 460 เท่า
  •  หนักกว่าอากาศ 2.5 เท่า
  •  ละลายน้ำได้เล็กน้อย


ประโยชน์และโทษของคลอรีน
          ประโยชน์ คลอรีนใช้เป็นสารค่าเชื้อโรคในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และราคาไม่แพง ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติก ผลิตยาฆ่าแมลง ใช้ฟอกสีเยื้อกระดาษ ตลอดจนเส้นใยผ้า
          โทษ คลอรีนเมื่อมีความชื่นจะกัดกร่อนโลหะเกือบทุกชนิด เป็นอันตรายแก่อวัยวะของร่างกาย เช่น ตา จมูก ผิวหนัง เมื่อถูกคลอรีนจะอักเสบและบวมพอง ถ้าสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก และอาจทำให้เสียชีวิตถ้าสูดดมในปริมาณมากเกินไป

ตารางที่ 1 แสดงระดับความรุนแรงของคลอรีนก๊าซในปริมาณต่างๆ

ระดับความรุนแรง
 ลักษณะอาการ
ความเข็มข้น (ppm)
 ปริมาณความเข้มข้นที่ทำให้รับรู้ได้ว่ามีคลอรีนอยู่
-
0.1- 0.3
 ความเข็มข้นที่อาจมีได้ในระยะเวลานา
-
1
 เกิดพิษน้อย
 น้ำตาไหล ไอ และมีน้ำมูกไหล
2-5
 เกิดพิษค่อนข้างมาก
หายใจไม่สะดวก ลืมตาไม่ค่อย ขึ้น เจ็บหน้าอก และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในเวลา 30 นาที – 1 ชม.
 5-30
 เป็นพิษมาก
หายใจไม่ออก หมดสติ เสียชีวิตภายใน 30 นาที – 1 ชม.
30-60
 เสียชีวิต
-
1000
ภาชนะบรรจุคลอรีน
             ภาชนะบรรจุก๊าซคลอรีนมีหลายขนาด แต่สำหรับประเทศไทยที่ใช้กันมากจะมีอยู่ 3 ขนาดได้แก่ ขนาดบรรจุ 100 กก. 1,000 กก. และ 20 - 25 ตัน
             ภาชนะบรรจุขนาด 100 กก.ลักษณะเป็นถังเล็กขนาดสูง 1,054 มิลลิเมตร
เส้นผ่าศูย์กลางภายใน 368.3 มิลลิเมตร ความหนาของถัง 3.96 มิลลิเมตร ปริมาตร 84 ลิตร ส่วนของ ถังประกอบด้วยวาล์วชนิดมีปลั๊กหลอมละลาย (Fusible Plug) ในตัว และฝาครอบวาล์วเพื่อป้องกันวาล์วเสียหายจาการกระแทรก ขณะทำการขนส่ง ปลั๊กหลอมละลาย จะทำงานที่อุณหภูมิ 74 OC โดยประมาณ มีหน้าที่ป้องกันถังระเบิด เมื่อได้รับความร้อนสูง ห้ามแตะต้องปลั๊กตัวนี้โดยไม่จำเป็น คลอรีนก๊าซขนาด 100 กก. ใช้กันในโรงงานผลิตน้ำขนาดเล็ก และใช้กับประปาบาดาล (รูปที่ 1)
ภาชนะบรรจุ 1,000 กก. เป็นถังเหล็กทรงกระบอกขนาดความยาว 2,200 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 770 มิลลิเมตร มีปริมาตร 840 ลิตร ที่หัวถังมีวาล์วชนิดไม่มีปลั๊กหลอมละลาย 2 ตัว และมีปลั๊กหลอมละลายแยกต่างหาก 3 ตัว ตั้งอยู่ในมุม 120 OC ซึ่งกันและกันพร้อมฝาครอบ ส่วนท้ายของถังเป็นส่วนโค้งเช่นเดียวกันมีปลั๊กหลอมละลาย 3 ตัว พร้อมฝาครอบเช่นเดียวกันแต่ไม่มีวาล์ว (รูปที่ 2) การจ่ายคลอรีนในถังขนาดบรรจุ 1,000 กก. สามารถจ่ายได้ 2 แบบคือในรูปก๊าซ (จ่ายที่วาล์วบน) และในรูปคลอรีนเหลว (จ่ายวาล์วล่าง) การจ่ายในรูปคลอรีนเหลวนี้จะใช้กับโรงงานผลิตน้ำขนาดกำลังผลิตมากๆ เช่นโรงงานผลิตน้ำบางเขนของการประปานครหลวงซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ในการระเหยคลอรีนเหลวให้อยู่ในรูปของก๊าซ (Evaporator) (รูปที่ 3)
            ภาชนะขนาดบรรจุ 20 ตัน (Tank Truck) เป็นถังเหล็กทรงกระบอกขนาดใหญ่หัวท้ายกลมมนความยาวของถัง 7,030 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 1,800 มิลลิเมตร ปริมาตร 17.15 ลบ.ม. ความหนาองถึง 16 มิลลิเมตร ไม่นิยมใช้ในงานประปา ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษและพวกสิ่งทอ


รูปที่ 1 ภาชนะบรรจุก๊าซคลอรีน ขนาด 100 กก.
รูปที่ 2 ภาชนะบรรจุคลอรีน ขนาด 1 ตัน
รูปที่ 3 อุปกรณ์ที่ใช้ระเหยคลอรีน
ประเภทของคลอรีน
                    คลอรีนที่ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปานอกจากอยู่ในรูปก๊าซแล้วยังมีจำหน่ายในรูปของคลอรีนน้ำ และคลอรีนผง
                    คลอรีนน้ำ (NaClO) หรือโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ความหมายต่างจากคลอรีนก๊าซที่อยู่ในรูปของเหลว มีลักษณะเป็นสารละลายสีเขียวตองมีปริมาณคลอรีนที่ใช้งานได้อยู่ในช่วง 7-15 เปอร์เซ็นต์ ชื่อทางการค้าอาจมีหลายชื่อเช่น Liquid Bleach Pure Chlor และ Top Chlor เป็นต้น น้ำยาซักผ้าขาวในท้องตลาดบางยี่ห้อก็มีคลอรีนน้ำเป็นส่วนประกอบ คลอรีนประเภทนี้ใช้งานง่าย แต่ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับคลอรีนก๊าซ ส่วนใหญ่นิยมใช้ฆ่าเชื่อโรคในน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Process Water) ของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่นิยมใช้ในงานประปาเนื่องจากราคาค่อนข้างแพง
                    คลอรีนผง 
[Ca (OCl)2 ]   มีลักษณะเป็นผง เม็ด หรือ เกล็ด สีขาว ปริมาณคลอรีนที่ใช้งานได้อยู่ในช่วง 65-71 เปอร์เซ็นต์ ใช้งานไม่สะดวกเหมือนคลอรีนน้ำ เวลาใช้งานต้องนำมาละลายน้ำ แล้วนำส่วนที่เป็นของเหลวไปใช้งาน เหมาะสำหรับงานประปาขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร เนื่องจากขนส่งง่ายมีความปลอดภัยสูง


ปฏิกิริยาของคลอรีนในน้ำ
                    คลอรีนก๊าซ (Cl2) ก๊าซคลอรีนเมื่ออยู่ในน้ำจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส ให้กรดไฮคลอรัส และ กรดไฮดอรคลอริก ดังสมการ


                    (Cl2) + H2 O                 HOCl (hypochlorous) + HCI

                   กรด 
HOCl  แตกตัวในน้ำจะให้ hypochlorte ion  และ hypochlorte ion  ดังสมการ

                   HOCl                 H+  +  OCl 


                  
Cl2 HOCl  และ OCl –  เรียกว่าคลอรีนอิสระคงเหลือ (Free residual Chlorine) ปริมาณคลอรีนอิสะคงเหลือชนิดใดจะมากหรือน้อยกว่ากันอยู่ที่สภาพ pHของน้ำ
                  ที่ pH ของน้ำต่ำกว่า 1 คลอรีนอิสระคงเหลือ จะอยู่ในรูปของคลอรีนก๊าซ (Cl2 ทั้งหมด และจะระเหยสู่บรรยากาศ ที่ pH 1-3.5 คลอรีนอิสระจะอยู่ในรูปของก๊าซ และ HOCl ที่ pH ในช่วง 3.5 -5.5คลอรีนอิสระจะอยู่ในรูป HOCl ทั้งหมด ที่ pH ในช่วง5.5-9 จะอยู่ในรูปของ HOCl และ OCl–   และที่ pH ตั้งแต่ 9 ขึ้นไป จะอยู่ในรูป OCl (รูปที่ 4)
รูปที่ 4 แสดงผลของ pH และการเปลี่ยนแปลงชนิดของคลอรีน

                คลอรีนอิสระในรูป 
HOCI มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคมากกว่าคลอรีนในรูป  OCI  ถึง 100 เท่า ดังนั้น เพื่อให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื่อโรคสูง ควรจะมีคลอรีนในรูปของ HOCI เหลืออยู่ในน้ำ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก สำหรับการฆ่าเชื่อโรคในน้ำทั้งแบคทีเรียและไวรัสโดยทั่วไป ปริมาณคลอรีนอิสระที่เหลือยู่ในน้ำเมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที ต้องไม่ต่ำกว่า 0.5 มก./ล โดยที่ pH ของน้ำต้องไม่สูงกว่า 8 และความขุ่นต้องไม่เกิน 1 NTU
ในน้ำประปาซึ่งผลิตจากน้ำผิวดิน ส่วนมากจะมีแอมโมเนียเหลืออยู่ในน้ำเมื่อทำปฏิกิริยากับคลอรีน  (
HOCI) จะได้คลอรีนอิสระคงเหลืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า คลอรามีน หรือ combined residual chlorine ได้แก่โมโนคลอรามีน ( NH2CI ) ไดคลอรามีน (NHCl2) และไตรคลอรามีน (NCl2) ดังสมการ
               HOCI + NH3                              NH2Cl + H2O
              NH2Cl + HOCI                            HOCI2  + H2O
              HOCI2 + HOCI                            NCI3 + H2O
              Combined residual chlorine มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคต่ำ แต่คงทนอยู่ในน้ำได้ยาวนานกว่าคลอรีนอิสระ ทั้ง Free Residual Chlorine และ Combined Residual Chlorine รวมกันเรียกว่าคลอรีนคงเหลือทั้งหมด (Total Residual Chlorine)
สำหรับคลอรีนน้ำและคลอรีนผงปฏิกิริยาในน้ำเป็นไปตามสมการข้างล่าง

               NaOCl + H2O                                     HOCl + NaOH
                Ca (OCl) 2 + H2O                              2HOCl + Ca (OH) 2


              การใช้คลอรีนน้ำและผง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้คลอรีนก๊าซ จะเห็นว่าการใช้คลอรีนน้ำและผงจะทำให้แนวโน้มของค่า pH เป็นไปในทางที่สูงขึ้น เนื่องจากตามสมการเคมีจะมีด่างเกิดขึ้น แต่การใช้คลอรีนก๊าซจะทำให้แนวโน้มของค่า 
pH ในน้ำต่ำลงเนื่องจากมีกรดเกิดขิ้น ดังนั้นการใช้คลอรีนก๊าซฆ่าเชื้อโรคตามทฤษฎีแล้วจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้คลอรีนรูปอื่นแต่ในทางปฏิบัตินั้นผลไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะปริมาณคลอรีนที่ใช้น้อยมากผลกระทบต่อ pH ขอน้ำจึงค่อนข้างน้อย
             สรุป  คลอรีนในน้ำประปาทั่วไปจะมี ทั้ง Free residual chlorine 
(HOCl ) และ Combened residual chlorine
Total Residual Chlorene = Free residual chlorine + Combined residual chlorine
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของคลอรีนในน้ำ
ปัจจัยทีส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของคลอรีนในน้ำได้แก่
            1. 
pH ขอน้ำ ดังได้กล่าวไว้แล้ว ถ้า pH สูง คลอรีนอิสระจะอยู่ในรูปของ OCl    ในเปอร์เซ็นค่อนข้างสูง ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำลายเชื่อโรคต่ำลงมาก ยิ่งในกรณีน้ำจากระบบหล่อเย็นซึ่งส่วนใหญ่ pH  เกือบถึง 9 ประสิทธิภาพการทำลายเชื้อโรคเกือบจะหมดไป ดังนั้นการเติมคลอรีนในน้ำหล่อเย็นประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจะต่ำมาก
            2. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของคลอรีนในน้ำด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการ ได้แก่ ปริมาณชนิดของคลอรีนอิสระคงเหลือ กรณีที่อุณหภูมิของน้ำต่ำคลอรีนอิสระคงเหลือจะอยู่ในรูปของ 
HOCl มาก ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ในทางกลับกัน ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูง คลอรีนอิสระคงเหลือจะอยู่ในรูปของ HOCl น้อย อีกประการหนึ่งก็คือ อุณหภูมิสูงจะทำให้คลอรีนสลายตัวได้ดีกว่าที่อุณหภูมิต่ำเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพของคลอรีนต่ำลงด้วย
           3. เวลา ถ้าเวลาที่สัมผัสน้ำ (Contact time) นานขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคของคลอรีนสูงขึ้น ในทางกลับกันถ้าเวลาที่สัมผัสน้ำน้อยลงประสิทธิภาพจะต่ำลง
           4. ความเข้มข้น เช่นเดียวกับเวลาถ้าความเข้มข้นของคลอรีนสูงประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคจะสูง
โดยทั่วไปเมื่อต้องการจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ปัจจัยที่ควรพิจารณาคือค่า C.T (มก. – นาที ลิตร 
-1  )
C = ความเข้มข้นของคลอรีนที่เหลือ (มก./ลิตร) , T = เวลาสัมผัส (นาที)

ตัวอย่างเช่น สาร A และ สาร B มีค่า C.T ในการค่าเชื้อโรค C เท่ากับ 5 และ 6 มก.- นาที ลิตร -1 ตามลำดับ สามารถสรุปได้ว่า สาร A มีประสิทธิภาพมากว่าสาร B
ในกรณีสารชนิดเดียวกันถ้ารู้ค่า C.T เราสามารถ จะเลือกได้ว่าจะให้มีเวลาสัมผัสนานเท่าไรโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนความเข้มข้นที่เหลือ ตัวอย่างเช่น ค่า C.T ของคลอรีนนการฆ่าเชื้อโรค H เท่ากับ 3 มก. – นาทีลิตร -1 หมายความว่าในเวลา 10 นาที จะต้องเติมคลอรีนลงในน้ำแล้ววัดคลอรีนที่เหลือให้ได้ 0.3 มก./ลิตร หรือถ้าต้องการใช้เวลาสั้นลงเหลือ 1 นาที จะต้องเติมคลอรีนแล้วให้มีคลอรีนเหลืออยู่ในน้ำ 3 มก./ ลิตรเป็นต้น




           5. สารอินทรีย์ในน้ำ ในกรณีที่น้ำมีสารอินทรีย์สูงจะทำให้คลอรีนมีประสิทธิภาพด้อยลง
เนื่องจากคลอรีนที่เติมลงไปจะไปทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ก่อนทำให้เหลือคลอรีนที่จะไปฆ่าเชื้อโรคน้อย นอกจากนี้ปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนกับสารอินทรีย์ในน้ำยังทำให้เกิดสารจำพวก THMs (Trihalomethane) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นในกรณีที่น้ำมีสารอินทรีย์สูง (วัดได้ในรูปของ TOC) จะต้องจัดสารอินทรีย์ให้เหลือน้อยก่อนที่จะมีการเติมสารคลอรีน เพื่อที่จะไม่สิ้นเปลืองคลอรีน และไม่ก่อให้เกิดสารพิษ ในกรณีที่ไม่ต้องการกำจัดสารอินทรีย์ก่อน เนื่องจากความยุ่งยากในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต อาจเปลี่ยนสารฆ่าเชื้อโรคจากคลอรีนเป็นชนิดอื่นซึ่งไม่ทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ เช่น คลอรีน ไดออกไซด์ ก็สามารถทำได้เช่นกัน
            ข้อดีของคลอรีน
คลอรีนมีข้อได้เปรียบสารอื่นๆ ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำหลายประการได้แก่
           1. ราคาถูกเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจของสังคมไทยเมื่อเทียบกับสารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคชนิดอื่นๆ เช่น โอโซน คลอรีนไดออกไซด์ และไฮโรเจนเปอร์ไซด์เป็นต้น
           2. หาซื้อง่ายมีจำหน่วยทั่วไป
           3. มีให้เลือกใช้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นคลอรีนก๊าซ คลอรีนน้ำ และคลอรีนผง ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำผลิต
           4. การเติมคลอรีนลงในน้ำค่อนข้างง่ายและไม่ยุ่งยากซับซ้อนข้อเสียของคลอรีน
คลอรีนถึงแม้จะมีข้อดีหลายอย่างแต่มีข้อดีด้อยเช่นกันได้แก่
           1. กรณีที่น้ำมีปริมาณสารอินทรีย์สูง จะทำให้สิ้นเปลืองคลอรีนมาก เพราะว่าคลอรีนส่วนหนึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ นอกจากนี้คลอรีนที่ทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์จะให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้พวก THMs ซึ่งเป็นสารพิษ เป็นโทษต่อร่างกาย
           2. ในกรณีที่น้ำมีค่า 
pH  สูงเกิน 8 ขึ้นไปประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคจะลดลงเนื่องจากคลอรีนอิสระจะอยู่ในรูปของ OCI – ดังนั้นการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนต้องปรับปรุง pH ไม่ให้สูงเกินไป
           3. คลอรีนไม่มีประสิทธิภาพนการฆ่าเชื้อ Protozoa จำพวก Giardia sp. และ Cryptosporidium sp

ขอบคุณที่มา http://202.129.59.73/tn/chlorine/chlorine_.htm