เปลี่ยนทรายกรองน้ำประปาหมู่บ้าน

ทำความสะอาดแท้งค์สูงล้างระบบประปา

เปลี่ยนทรายกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตั้งและเปลี่ยนสารในถังกรอง

ติดตั้งถังกรอง

เปลี่ยนสารกรองน้ำ

เปลี่ยนสารกรองน้ำโรงงานอุตสาหกรรม

เปลี่ยนสารกรองน้ำ เปลี่ยนสารกรองน้ำ
free glitter text and family website at FamilyLobby.com

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

The fluoride in the game.มารู้จักฟลูออไรด์ กันเถอะ

ฟลูออไรด์ ( Fluoride ) สัญญลักษณ์ทางเคมีคือ F 
 
 


    เป็นสารประกอบของฟลูออรีน เป็นสารที่จำเป็นสำหรับคนเรา แต่ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะเกิดประโยชน์ ฟลูออไรด์จะช่วยทำให้เคลือบฟันและกระดูกให้แข็งแรง ไม่ผุง่าย จึงมีการให้สารฟลูออไรด์แก่เด็ก แต่ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ฟันเป็นจุดดำ และกระดูกผุได้ ฟลูออไรด์ในน้ำเกิดจากแร่ฟลูออไรด์ ( CaF2 ) ในหินอัคนี และหินแปรที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบฟลูออไรด์ที่ร่างกายได้รับอาจมาจากหลายทางเช่น จากน้ำดื่ม อาหาร ผลไม้ ยาสีฟัน วิตามินรวม ยาเม็ดฟลูออไรด์ เป็นต้น ฟลูออไรด์ที่ได้รับจากอาหารหรือน้ำดื่ม ฯลฯ นี้ จะถูกดูดซึมในทางเดินอาหาร เกือบหมด แต่เมื่อฟลูออไรด์ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะพบว่าร้อยละ 50 จะถูกขับถ่ายที่ไต ที่เหลือส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ที่กระดูกและฟัน การได้รับฟลูออไรด์ ที่พอเหมาะจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุ เช่นฟลูออไรด์ในน้ำที่มีอยู่ประมาณ 0.5 ppm หรือ มิลลิกรัม/น้ำ1ลิตร ทำให้โรคฟันผุลดลง แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าได้รับปริมาณฟลูออไรด์สูงเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมในฟัน เกิดลักษณะฟันตกกระ ( dental fluorosis ) และถ้าปริมาณฟลูออไรด์สูงขึ้นไปอีก จะเกิดโรคทางกระดูกเรียกว่า skeletal fluorosis อย่างไรก็ตามปริมาณฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากพอเหมาะจะใช้รักษาคนเป็นโรคกระดูกพรุนได้ โดยใช้ร่วมกับแคลเซียม และฮอร์โมนอีสโทรเจน แต่ในการรักษาโดยวิธีนี้ ยังไม่เป็นข้อยุติที่ชัดเจน
ฟลูออไรด์ในน้ำ 
    น้ำเป็นส่วนประกอบของทุกสิ่งที่เราดื่ม และอยู่ในอาหารทุกชนิดที่เรารับประทาน แม้แต่ในร่างกายของเรายังประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ สารประกอบทางเคมี และแร่ธาตุต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม น้ำที่มีลักษณะใสไม่ได้หมายความว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาดื่มเสมอไป จะต้องใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ทางเคมีที่ถูกต้องเพื่อที่จะบอกได้ว่าน้ำนั้นนำมาบริโภคได้ สารประกอบทางเคมีในน้ำมีหลายชนิด สำหรับครั้งนี้เรามาคุยกันในเรื่องของฟลูออไรด์

    มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย ของ ฟลูออไรด์มีหลายมาตรฐาน  เช่น

    1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 157 ( ฉบับพิเศษ ) ลงวันที่ 24 กันยายน 2524 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 ( พ.ศ.2534 )เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท ( ฉบับที่ 2 )ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2534 ตีพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 61 ลงวันที่ 2 เมษายน 2534 กำหนดให้มีฟลูออไรด์ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร หมายถึง ในน้ำดื่มบรรจุขวดที่ปิดสนิท ควรมีฟลูออไรด์ในน้ำไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร

     2. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 12 ( พ.ศ. 2542 )ออกตามความใน พรบ. น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสำหรับ การป้องกันด้านสาธารณสุข และป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 29 ลงวันที่ 13 เมษายน 2542 เกณฑ์กำหนดสูงสุดของฟลูออไรด์ ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร เกณฑ์อนุโลมสูงสุดไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร

    3.ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 257-2549 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค เกณฑ์กำหนดสูงสุดของฟลูออไรด์ ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร เกณฑ์อนุโลมสูงสุดไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร

    4.ประกาศกรมอนามัย 29 กุมภาพันธ์ 2543 เกณฑ์คุณภาพน้ำประปากรมอนามัย ค่า F ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร

    5. โครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภต กรมทรัพยากรน้ำ กำหนดค่า F ไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม /ลิตร (มาตรฐานระดับ 5 ) และ
    ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร( มาตรฐานระดับ 3 )

    6.เกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคในชนบท พ.ศ. 2531 กำหนดค่า F ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร

    สำหรับเกณฑ์คุณภาพน้ำดื่มที่เสนอแนะโดยองค์การอนามัยโลก ค.ศ.2006 หรือ พ.ศ.2549 ค่า F ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร
        แหล่งน้ำที่มีฟลูออไรด์สูง จะพบตามแหล่งน้ำที่เป็นเหมืองฟลูออไรด์เช่น ในภาคเหนือ นอกจากนี้ก็พบได้ทางภาคกลางซึ่งจะเป็นจังหวัดทางด้านตะวันตกของภาคคือ สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี ภาคใต้ ที่จังหวัดปัตตานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น
น้ำที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณต่างๆ จะไม่มีผลต่อรสชาติ และสี ของน้ำ น้ำที่มีลักษณะใสๆ อาจมีฟลูออไรด์สูงก็ได้ ดังนั้น น้ำดื่มที่ประชาชนนำมาใช้ดื่มจากแหล่งน้ำต่างๆ ควรมีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ  น้ำที่มีฟลูออไรด์สูงเกิน1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ไม่เหมาะที่จะบริโภคเป็นระยะเวลานานๆ เพราะจะมีผลต่อสุขภาพในเรื่องของฟันและกระดูก ในแถบภาคเหนือของประเทศไทย เช่น ในแถบจังหวัดลำพูน ลำปาง ในต่างประเทศเช่นในประเทศแถบอัฟริกาบางประเทศน้ำมีฟลูออไรด์สูงมาก ทำให้ประชาชนในแถบนั้นเป็นโรคฟันดำ หรือฟันเป็นจุด และถ้าสะสมไปเรื่อยๆ ก็จะมีผลต่อกระดูก ทำให้มีอาการผิดปกติตามข้อต่อต่างๆ เนื่องจากฟลูออไรด์ไม่ได้มาจากน้ำแต่เพียงอย่างเดียว อาจมาจากยาสีฟัน ซึ่งมีปริมาณฟลูออไรด์สูงเช่น 1000 ppm  ควรเลือก ใช้ชนิดที่มีแค่ 500 ppm ก็น่าจะเพียงพอสำหรับเด็ก    ในกรณีนี้ต้องระวังอย่าให้เด็กกลืนยาสีฟันเข้าไป ต้องล้างฟันและบ้วนออกให้สะอาดก่อน
ฟลูออไรด์เป็นสารประกอบที่มีประโยชน์แต่ต้องใช้ให้อยู่ในปริมาณเหมาะสมจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด !!   http://202.129.59.73/nana/FLUORIDE/FLUORIDE.htm