วิศวกร 5
ไพรัช แก้วจินดา
พนักงานตรวจทานข้อมูล
โดยปกติในช่วงหน้าฝนปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีเป็นจำนวนมาก เรามักเคยชินกับการรองเก็บน้ำฝนจากรางรับน้ำฝนที่ต่อจากหลังคาบ้านโดยไม่สนใจว่าบนหลังคาหรือในรางรับน้ำฝนจะมีอะไรอยู่บ้าง การรองเก็บน้ำฝนในลักษณะดังกล่าวนี้ จะทำให้มีฝุ่นผง เศษใบไม้ มูลสัตว์ ฯลฯ ตกตะกอนนอนอยู่ที่ก้นโอ่งหรือก้นถังเป็นจำนวนมาก และเมื่อนานวันเข้าเศษสิ่งสกปรกต่างๆ ดังกล่าวที่หมักหมมอยู่จะเกิดการย่อยสลายทำให้น้ำเน่าเสียมีกลิ่นเหม็น และหากนำไปใช้ดื่มกินก็อาจทำให้เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคของระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำเป็นสื่อได้
แล้วจะทำอย่างไร.....จึงจะลดเศษสิ่งสกปรกเหล่านั้นได้ ???
การลดเศษสิ่งสกปรกต่างๆในโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนนั้น ทำได้โดยการหมั่นล้างโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนและอีกวิธีหนึ่งก็โดยการล้างทำความสะอาดหลังคาและรางรับน้ำฝนแต่การจะล้างโอ่งถังเก็บน้ำฝน หลังคาและรางรับน้ำฝนนั้น จะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอ จึงจะสามารถล้างทำความสะอาดสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นได้ดี ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะมิเช่นนั้นแล้วแทนที่จะสามารถ รองเก็บน้ำฝนที่สะอาดไว้ใช้ กลับจะเป็นการใช้น้ำไปจนหมดสิ้นโดยไม่สามารถรองรับเก็บไว้ได้เลย
ในการล้างโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนนั้น ควรดำเนินการก่อนที่ฝนแรกจะมา โดยทำการล้าง-ขัดผนังด้านในและพื้นก้นโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝน เพื่อขจัดคราบสกปรกและตะกอนฝุ่นผงต่างๆ จากนั้นระบายน้ำออกทิ้งให้หมดเพื่อรอน้ำฝนใหม่ที่จะมาแทน แต่พึงจำไว้ด้วยว่า หากปล่อยให้โอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนแห้งไม่มีน้ำนานเกินไปอาจทำให้โอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนแตก - ร้าวได้ ส่วนหลังคาและรางรับน้ำฝนนั้นให้ตรวจดูว่าชำรุดหรือไม่ อย่างไรหากชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย และทำการเก็บกวาดเศษใบไม้ ตลอดจนสิ่งสกปรกต่างๆออกจากหลังคาและรางรับน้ำฝนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สำหรับการรองเก็บน้ำฝนใส่โอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนนั้นควรจะปล่อยให้น้ำฝนแรกชะล้างหลังคาและรางรับน้ำฝนสักระยะหนึ่ง โดยโยกปลายท่อรับน้ำฝนออกไม่ให้ไหลลงโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนหรือกรณีที่มีประตูน้ำบายพาสส์ (by-pass) ก็ให้เปิดประตูน้ำบายพาสส์ เพื่อปล่อยน้ำฝนแรกไหลทิ้งไปก่อน จนแน่ใจว่าน้ำฝนได้ชะล้างฝุ่นละอองออกจากหลังคาและรางรับน้ำฝน จึงค่อยทำการรองเก็บน้ำฝนหรือปิดประตูน้ำบายพาสส์เพื่อให้น้ำฝนไหลลงสู่ถังเก็บน้ำฝนต่อไป
จะให้แน่ใจได้อย่างไรว่า " น้ำฝนที่จะใช้ดื่ม - กิน มีความสะอาดเพียงพอ???
แม้ว่าน้ำฝนที่เรารองรับเก็บไว้จะไม่มีตะกอนฝุ่นผง แต่ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าน้ำฝนนั้นมีความสะอาดเพียงพอที่จะใช้ดื่ม - กิน จะต้องทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคของระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำเป็นสื่อ
สำหรับวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมีด้วยกันหลายวิธีแต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การต้มน้ำ โดยจะใช้ความร้อนสูงถึงอุณหภูมิน้ำเดือด (100 องศาเซลเซียส) นานประมาณ 10 - 20 นาที สามารถทำลายเชื้อโรคต่างๆที่ปนเปื้อนมากับน้ำได้ แต่วิธีนี้ไม่สะดวกหากต้องใช้กับการปรับปรุงคุณภาพน้ำในปริมาณมากๆ
อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ผงปูนคลอรีน ซึ่งจะมีความเหมาะสมกว่าวิธีการแรกในกรณีที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพ
ตาราง สัดส่วนของผงปูนคลอรีนที่ใช้เพื่อการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
ปริมาณน้ำ (ลิตร)
หน่วยเทียบ
ปริมาณผงปูนคลอรีนที่ใช้ (กรัม)
หน่วยเทียบ
1,000
1 ลูกบาศก์เมตรหรือ 1 คิว
1 - 2
1 / 2 ช้อนชา
11,000
1 ถังน้ำฝน หรือ 11 คิว
4 - 6
1 - 2 ช้อนชา
หมายเหตุ ผงปูนคลอรีนที่ใช้เป็นผงปูนคลอรีนขนาดความเข้นข้น 60 %
ปริมาณ 1 ช้อนชา = 3 กรัม
น้ำในปริมาณมากๆ เช่น น้ำในโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝน โดยจะคลอรีนในน้ำให้มีความเข้มข้นประมาณ 0.6-1.2 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน ; part per million : ppm.) ซึ่งขั้นตอนในการใช้คลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อโรคในน้ำก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแต่ตักผงปูนคลอรีนมาตามสัดส่วนที่กำหนด นำไปละลายในน้ำเปล่า 1 แก้ว ตั้งทิ้งไว้ให้ผงปูนตกตะกอน จากนั้นรินเอาเฉพาะส่วนที่เป็น " น้ำใส " นำมาเติมใส่ในโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝน ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้คลอรีนได้ทำปฏิกริยาในน้ำ เพื่อการฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนำน้ำไปใช้ดื่ม - กินต่อไป
การเติมคลอรีนในน้ำจะเติมเพียงครั้งเดียวก็พอแต่ถ้าหากมีน้ำฝนใหม่มาเติมใส่หรือไม่แน่ใจว่าน้ำฝนที่รองเก็บไว้มีความสะอาดเพียงพอ ก็อาจจะเติมคลอรีนเพิ่มได้อีก เนื่องจากคลอรีนเป็นอันตรายต่อคนน้อยมากแต่อาจจะมีกลิ่นฉุนซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัวของคลอรีนให้รำคาญบ้าง หากไม่ชอบกลิ่นคลอรีนดังกล่าว ก็อาจทิ้งน้ำไว้ 1-2 วัน ก่อนจะนำไปใช้ดื่ม - กิน คลอรีนจะระเหยไปเองจนหมด
ไพรัช แก้วจินดา
พนักงานตรวจทานข้อมูล
โดยปกติในช่วงหน้าฝนปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีเป็นจำนวนมาก เรามักเคยชินกับการรองเก็บน้ำฝนจากรางรับน้ำฝนที่ต่อจากหลังคาบ้านโดยไม่สนใจว่าบนหลังคาหรือในรางรับน้ำฝนจะมีอะไรอยู่บ้าง การรองเก็บน้ำฝนในลักษณะดังกล่าวนี้ จะทำให้มีฝุ่นผง เศษใบไม้ มูลสัตว์ ฯลฯ ตกตะกอนนอนอยู่ที่ก้นโอ่งหรือก้นถังเป็นจำนวนมาก และเมื่อนานวันเข้าเศษสิ่งสกปรกต่างๆ ดังกล่าวที่หมักหมมอยู่จะเกิดการย่อยสลายทำให้น้ำเน่าเสียมีกลิ่นเหม็น และหากนำไปใช้ดื่มกินก็อาจทำให้เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคของระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำเป็นสื่อได้
แล้วจะทำอย่างไร.....จึงจะลดเศษสิ่งสกปรกเหล่านั้นได้ ???
การลดเศษสิ่งสกปรกต่างๆในโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนนั้น ทำได้โดยการหมั่นล้างโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนและอีกวิธีหนึ่งก็โดยการล้างทำความสะอาดหลังคาและรางรับน้ำฝนแต่การจะล้างโอ่งถังเก็บน้ำฝน หลังคาและรางรับน้ำฝนนั้น จะต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอ จึงจะสามารถล้างทำความสะอาดสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นได้ดี ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะมิเช่นนั้นแล้วแทนที่จะสามารถ รองเก็บน้ำฝนที่สะอาดไว้ใช้ กลับจะเป็นการใช้น้ำไปจนหมดสิ้นโดยไม่สามารถรองรับเก็บไว้ได้เลย
ในการล้างโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนนั้น ควรดำเนินการก่อนที่ฝนแรกจะมา โดยทำการล้าง-ขัดผนังด้านในและพื้นก้นโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝน เพื่อขจัดคราบสกปรกและตะกอนฝุ่นผงต่างๆ จากนั้นระบายน้ำออกทิ้งให้หมดเพื่อรอน้ำฝนใหม่ที่จะมาแทน แต่พึงจำไว้ด้วยว่า หากปล่อยให้โอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนแห้งไม่มีน้ำนานเกินไปอาจทำให้โอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนแตก - ร้าวได้ ส่วนหลังคาและรางรับน้ำฝนนั้นให้ตรวจดูว่าชำรุดหรือไม่ อย่างไรหากชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย และทำการเก็บกวาดเศษใบไม้ ตลอดจนสิ่งสกปรกต่างๆออกจากหลังคาและรางรับน้ำฝนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สำหรับการรองเก็บน้ำฝนใส่โอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนนั้นควรจะปล่อยให้น้ำฝนแรกชะล้างหลังคาและรางรับน้ำฝนสักระยะหนึ่ง โดยโยกปลายท่อรับน้ำฝนออกไม่ให้ไหลลงโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝนหรือกรณีที่มีประตูน้ำบายพาสส์ (by-pass) ก็ให้เปิดประตูน้ำบายพาสส์ เพื่อปล่อยน้ำฝนแรกไหลทิ้งไปก่อน จนแน่ใจว่าน้ำฝนได้ชะล้างฝุ่นละอองออกจากหลังคาและรางรับน้ำฝน จึงค่อยทำการรองเก็บน้ำฝนหรือปิดประตูน้ำบายพาสส์เพื่อให้น้ำฝนไหลลงสู่ถังเก็บน้ำฝนต่อไป
จะให้แน่ใจได้อย่างไรว่า " น้ำฝนที่จะใช้ดื่ม - กิน มีความสะอาดเพียงพอ???
แม้ว่าน้ำฝนที่เรารองรับเก็บไว้จะไม่มีตะกอนฝุ่นผง แต่ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าน้ำฝนนั้นมีความสะอาดเพียงพอที่จะใช้ดื่ม - กิน จะต้องทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคของระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำเป็นสื่อ
สำหรับวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมีด้วยกันหลายวิธีแต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การต้มน้ำ โดยจะใช้ความร้อนสูงถึงอุณหภูมิน้ำเดือด (100 องศาเซลเซียส) นานประมาณ 10 - 20 นาที สามารถทำลายเชื้อโรคต่างๆที่ปนเปื้อนมากับน้ำได้ แต่วิธีนี้ไม่สะดวกหากต้องใช้กับการปรับปรุงคุณภาพน้ำในปริมาณมากๆ
อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ผงปูนคลอรีน ซึ่งจะมีความเหมาะสมกว่าวิธีการแรกในกรณีที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพ
ตาราง สัดส่วนของผงปูนคลอรีนที่ใช้เพื่อการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
ปริมาณน้ำ (ลิตร)
หน่วยเทียบ
ปริมาณผงปูนคลอรีนที่ใช้ (กรัม)
หน่วยเทียบ
1,000
1 ลูกบาศก์เมตรหรือ 1 คิว
1 - 2
1 / 2 ช้อนชา
11,000
1 ถังน้ำฝน หรือ 11 คิว
4 - 6
1 - 2 ช้อนชา
หมายเหตุ ผงปูนคลอรีนที่ใช้เป็นผงปูนคลอรีนขนาดความเข้นข้น 60 %
ปริมาณ 1 ช้อนชา = 3 กรัม
น้ำในปริมาณมากๆ เช่น น้ำในโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝน โดยจะคลอรีนในน้ำให้มีความเข้มข้นประมาณ 0.6-1.2 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน ; part per million : ppm.) ซึ่งขั้นตอนในการใช้คลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อโรคในน้ำก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแต่ตักผงปูนคลอรีนมาตามสัดส่วนที่กำหนด นำไปละลายในน้ำเปล่า 1 แก้ว ตั้งทิ้งไว้ให้ผงปูนตกตะกอน จากนั้นรินเอาเฉพาะส่วนที่เป็น " น้ำใส " นำมาเติมใส่ในโอ่งหรือถังเก็บน้ำฝน ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้คลอรีนได้ทำปฏิกริยาในน้ำ เพื่อการฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนำน้ำไปใช้ดื่ม - กินต่อไป
การเติมคลอรีนในน้ำจะเติมเพียงครั้งเดียวก็พอแต่ถ้าหากมีน้ำฝนใหม่มาเติมใส่หรือไม่แน่ใจว่าน้ำฝนที่รองเก็บไว้มีความสะอาดเพียงพอ ก็อาจจะเติมคลอรีนเพิ่มได้อีก เนื่องจากคลอรีนเป็นอันตรายต่อคนน้อยมากแต่อาจจะมีกลิ่นฉุนซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัวของคลอรีนให้รำคาญบ้าง หากไม่ชอบกลิ่นคลอรีนดังกล่าว ก็อาจทิ้งน้ำไว้ 1-2 วัน ก่อนจะนำไปใช้ดื่ม - กิน คลอรีนจะระเหยไปเองจนหมด