คุณ เคยคิดหรือไม่ว่า เราควรล้างถังพักน้ำ หรือบ่อพักน้ำเมื่อไร? เลือกปฏิบัติตามข้อแนะนำ ที่ให้หมั่นล้างทุก 6 เดือน หรือว่าปล่อยปละละเลยจนเป็นปีๆหรือนับ 10 ปี ไม่สนใจว่าน้ำในถังพักน้ำจะเป็นเช่นไร โดยเฉพาะใน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงานใหญ่ๆ ฯลฯ ที่นอกจากจะตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากถังพักน้ำมีขนาดใหญ่แล้ว หากจะต้องล้างถังพักน้ำ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องหยุดการใช้น้ำชั่วคราว ดังนั้นการล้างถังพักน้ำจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาแล้วว่ามีความคุ้มและจำ เป็นจริงๆ แต่จะมีสิ่งใดที่บอกได้ว่าถึงเวลาแล้วที่คุณต้องล้างถังพักน้ำ เรื่องเหล่านี้ การประปานครหลวง (กปน.)สามารถบอกคุณได้ เพราะสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของวิศวกร กปน. คุณวชิรวิทย์ โพธิ์วิจิตร หัวหน้าส่วนสำรวจและออกแบบ กองบำรุงรักษา สำนักงานประปาสาขาลาดพร้าว ที่เรียกว่า"โซดาดึง 2010” อุปกรณ์เก็บตะกอนในถังพักน้ำ เครื่องมือที่จะบอกให้รู้ว่าถึงเวลาที่ควรจะต้องล้างถังพักน้ำได้แล้ว
แรงบันดาลใจในการจัดทำอุปกรณ์
เนื่อง จากปัจจุบัน กปน. มีบริการให้คำแนะการใช้น้ำและบริการบำรุงรักษาระบบประปาภายในให้แก่ลูกค้า ทั้งรายเล็กรายใหญ่ ซึ่งได้แก่ ท่อ ปั๊ม และถังพักน้ำ โดย 2 เรื่องแรก ทีมงานสามารถตอบคำถามลูกค้าโดยสังเกตจากลักษณะภายนอกของอุปกรณ์หรือสถิติการ ซ่อม รวมทั้งมีเครื่องมือตรวจสอบได้ แต่งานเกี่ยวกับถังพักน้ำที่ขาดการบำรุงรักษามาเป็นระยะเวลานาน จนมีสิ่งแปลกปลอมสะสมอยู่บริเวณก้นถังนั้น ไม่สามารถบอกได้ ซึ่งกว่า 70 % ของลูกค้ามักถามว่า กปน. มีเครื่องมือตรวจสอบหรือไม่
จาก คำถามนี้เองทีมงานจึงคิดว่าจะต้องจัดหาหรือซื้อเครื่องมือ ตรวจสอบน้ำในระดับก้นถัง เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่น ดีกว่าไปนำเสนอโดยไม่มีข้อมูลประกอบ โครงงานนี้เลยเกิดขึ้น ขั้นแรกค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือเก็บดินตะกอนที่มีอยู่ในโลก โดยศึกษาหลักการทำงาน และวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม จากนั้นจึงทำการศึกษาตะกอนที่อยู่ในน้ำ และพบว่าตะกอนที่สะสมอยู่ในถังพักน้ำส่วนใหญ่ เป็นตะกอนที่มีอนุภาคเล็กกว่า 0.002 มม. มาก มีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ ลอยปะปนอยู่ในน้ำ
เริ่มศึกษาการประดิษฐ์เครื่องมือตรวจเก็บน้ำ
จาก นั้นทีมงานจึงมาศึกษาและคิดหาทางประดิษฐ์เครื่องมือนี้เอง โดยคิดกันว่าจะเก็บน้ำและตะกอนในระดับก้นถังได้อย่างไร มีการลองผิดลองถูก ลงทุนซื้ออุปกรณ์มาประดิษฐ์ และพัฒนาหัวเก็บน้ำและตะกอนเพื่อให้ทนทานเหมาะกับงานภาคสนาม ที่ไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อยนัก หลังจากใช้เวลาคิดค้นอยู่ครึ่งปีจึงได้อุปกรณ์ต้นแบบเมื่อเดือนเมษายน 2553 ที่ผ่านมา โดยให้ชื่อว่า "โซดาดึง 2010” ซึ่งทีมงานได้ดำเนินการขอจดสิทธิบัตรกับกระทรวงพาณิชย์ไว้เรียบร้อยแล้ว
อุปกรณ์"โซดา ดึง 2010” นี้ใช้หลักการน้ำไหลเข้าไปแทนที่อากาศ ในลักษณะเก็บอากาศอยู่ภายในกระบอกเก็บอากาศก่อน เมื่อปล่อยอุปกรณ์ลงไปถึงก้นถัง จึงปล่อยให้อากาศภายในกระบอกเก็บอากาศออกมา หลังจากนั้นตัวอย่างน้ำและตะกอนที่ระดับก้นถังก็จะถูกดูดเข้าไปในกระบอกเก็บ อากาศ โดยปลายกระบอกจะมีกลไกกันไม่ให้น้ำและสิ่งแปลกปลอมไหลออก ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเดียวกันกับพิโซมิเตอร์ (Piezometer)
ทำไมถึงตั้งชื่อว่า โซดาดึง 2010?
โซดา ดึง หมายถึงก๊อกน้ำสาธารณะแบบโบราณ สมัยรัชกาลที่ 5 เวลาจะใช้น้ำก็ต้องดึงคันโยกเพื่อให้น้ำไหลออกมา เหตุนี้จึงเรียกกันอย่างล้อเล่นในหมู่คนกินเหล้าสมัยก่อนว่า โซดาดึง จะเห็นได้ว่าคำคำนี้อยู่คู่กับการประปาหลวงมานานและทางทีมงานอยากให้คำคำนี้ อยู่กับ กปน. ตลอดไป ประกอบกับลักษณะการใช้อุปกรณ์ ต้องดึงขึ้นมาจากถังพักน้ำ จึงเป็นที่มาของชื่อนี้
จน ถึงขณะนี้คิดว่าหลักการที่เป็นกลไกในการทำงานของโซดาดึง 2010 เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้ว ถ้าเทียบกับเป้าหมายหลักเพื่อให้ลูกค้าสนใจโครงการ ซึ่งต่อไปคงจะพัฒนารูปแบบภายนอกมากกว่า เพื่อให้ดูมีคุณค่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น และตอนนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้รับงานประดิษชิ้นนี้ไว้พิจารณาเพื่อจดสิทธิบัตร ตามเลขที่คำขอ 1003000341 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 แล้ว ที่ต้องทำเรื่องจดสิทธิบัตรก่อน เนื่องจากเวลาไปตรวจน้ำตามสถานที่ต่างๆ เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้จะได้รับความสนใจมาก และหน่วยงานเหล่านั้น จะขอให้จัดทำเพื่อที่จะตรวจน้ำได้เอง ทีมงานเลยขอสงวนสิทธิไว้ก่อน
และ จากการที่นำอุปกรณ์นี้ไปเก็บตะกอนก้นถังพักน้ำให้กับสถานที่หลายแห่ง ทำให้เจ้าของกิจการและสถานที่เหล่านั้นต้องตกใจกับภาพที่เห็น พร้อมรีบดำเนินการล้างพักน้ำอย่างเร่งด่วน ซึ่งสามารถทำได้เองหรือจะเรียกใช้บริการของ กปน. ก็ได้เช่นกัน
และ นี่ คืออีกหนึ่งนวัตกรรม ที่คิดค้นจากมันสมองสองมือ ของพนักงานการประปานครหลวงที่ช่วยกันประดิษฐ์ "โซดาดึง 2010” อุปกรณ์ตรวจวัดระดับตะกอนในถังพักน้ำ น่าจะเป็นอีกหนึ่งผลงานที่เรียกความน่าเชื่อถือและเชื่อมั่นจากผู้ใช้น้ำได้ ดีทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจากฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง
ขอบคุณข้อมูลจากฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง