เจริญชัย จิรชัยรัตนสิน
วิศวกรชำนาญการ
ในสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างอย่างนี้ นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนในเรื่องของที่อยู่อาศัยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบาธารณูปโภคพื้นฐานอย่าง “น้ำ” ที่ใช้สำหรับดื่มกิน และชำระล้างร่างกายอีกด้วย!!
หลายฝ่าย หลายหน่วยงาน ต่างร่วมแรงร่วมใจระดมความคิด ความสามารถในด้านต่าง ๆ สร้างสำนึกจิตอาสาขึ้นมาช่วยเหลือสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประสบภัยน้ำท่วมในยามคับขัน
ขณะที่หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหามีแต่น้ำท่วมขัง...และน้ำที่มีอยู่ก็เริ่มใช้ไม่ได้ บ้างมีสี มีกลิ่น จากน้ำที่เคยใสเปลี่ยนเป็นสีขุ่น ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ ด้วยเหตุนี้ บุคลากรที่มีจิตอาสาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน” ขึ้น
เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน เป็นผลงานของ นายวาสนิธิ์ พญาปุโรหิต นายธีรภัทร์ ฉัตรทอง นายวรนล กิติสาธร นายอภิชัจ เจียรวิริยะนาถ 4 หัวเรือใหญ่ของทีมวิจัย และกลุ่มเพื่อนนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก ศูนย์วิจัยส่วนนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ (Applied Innovation Division : AID) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โดยมี ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม และ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ เป็นที่ปรึกษาของโครงการ
จริง ๆ แล้วการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะน้ำท่วมที่ขาดแคลนน้ำใช้ น้ำเพื่อชำระล้างสิ่งต่าง ๆ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้น้ำไม่มีกลิ่น ไม่มีสี มีความสะอาดเพียงพอและสกปรกน้อยที่สุด เพราะหากผู้ประสบภัยน้ำท่วมใช้น้ำที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อนบ่อยครั้ง อาจไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ ทีมวิจัย เกริ่นนำ ก่อนช่วยกันอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินให้ฟังว่า
เครื่องกรองน้ำฉุกเฉินนี้ถูกออกแบบไว้ให้มีความสะดวกในการทำใช้ได้เอง ไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษอะไร ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นเป็นขนาดเล็กน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม เพื่อความสะดวกแก่การเคลื่อนย้าย ติดตั้งและซ่อมบำรุง สามารถกรองน้ำได้ครั้งละ 5 ลิตร ภายในครึ่งนาที
หลักการทำงานไม่สลับซับซ้อน อุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ เครื่องทรงกระบอก ความสูง 45 เซนติเมตร ขนาดบรรจุน้ำได้ 5 ลิตร อีกส่วนหนึ่งคือ กระบอก ความสูง 70 เซนติเมตร เพื่อบรรจุชุดกรองที่ได้ประยุกต์โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาไว้ในตัวกระบอก ซึ่งชั้นกรองแต่ละชั้นทำจากวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่ ประกอบด้วย หิน กรวด ชั้นทรายละเอียด และทรายหยาบ เพื่อทำการกรองสารแขวนลอยที่มีอยู่ในน้ำ และก่อนที่อินทรีย์สารจะทำให้เกิดสีจะถูกดูดซับโดยถ่านกัมมันต์
ถ่านกัมมันต์จริง ๆ แล้วไม่ได้แตกต่างจากถ่านที่เรารู้จักกันมากนัก เพียงแต่ถูกกระตุ้นหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้มีศักยภาพในการดูดซับสารเจือปนต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำได้ ซึ่งชั้นกรองทั้งหลายเหล่านี้จะทำหน้าที่กรอง ดูดซับกลิ่น และปรับสภาพน้ำขุ่นให้กลายเป็นน้ำใสได้
อุปกรณ์ชุดนี้ ถูกออกแบบให้สามารถถอดทำความสะอาดล้างเองได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ เนื่องจากน้ำที่ใช้มีความขุ่นไม่เท่ากัน โดยผู้ใช้ต้องสังเกต หากปริมาณน้ำไหลออกมาช้ากว่าปกติ ก็สามารถถอดอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดได้ทันที
ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม กล่าวเสริมว่า เครื่องกรองน้ำประเภทนี้ น้ำจะไหลผ่านชั้นกรองด้วยการอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ส่งผลให้อัตราการผลิตน้ำได้ไม่สูงนัก ดังนั้น ปั๊มน้ำ จึงมีความจำเป็นในการเสริมเข้ามาในระบบ เพื่อใช้เป็นตัวส่งน้ำเข้าสู่ระบบและทำให้อัตราการผลิตน้ำด้วยเครื่องกรองน้ำนั้นสูงขึ้น
โดยจะเห็นได้ชัดว่า ถ้ายังมีกระแสไฟฟ้าใช้อยู่ในพื้นที่คงไม่ใช่เรื่องลำบากที่จะติดตั้งระบบเครื่องกรองน้ำเดิมที่มีอยู่ แต่ในเวลานี้พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ประสบอุทกภัยจะไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องหากลไกอื่นในการปั๊มน้ำส่งเข้าสู่ระบบเครื่องกรองน้ำที่จะต้องไม่อาศัยกระแสไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำที่ถูกจัดทำขึ้นนั้น จึงใช้ แรงลมที่มีอยู่ในกระบอกสูบลม ไปดันน้ำให้เข้าสู่เครื่องกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสมสำหรับการกรอง
หลักการทำงานจะอาศัยหลักการแทนที่น้ำของอากาศ ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานไม่ได้มีความสลับซับซ้อน เพียงแต่ต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตัวเครื่องกรองน้ำจะประกอบไปด้วยชั้นกรองต่าง ๆ เช่น ทรายหยาบ ทรายละเอียด และถ่านกัมมันต์ รวมถึงใยกรองต่าง ๆ ส่วนที่สอง เป็นส่วนของอุปกรณ์ส่งน้ำซึ่งประกอบไปด้วยปั๊มลมที่ต่อเข้ากับภาชนะบรรจุน้ำขนาด 5 ลิตร โดยการใช้งานนั้นสามารถทำได้โดยการปั๊มลมเข้าสู่ภาชนะที่บรรจุน้ำอยู่ โดยการปั๊มลมนี้ไม่ต่างอะไรจากการสูบลมเข้าจักรยานนั่นเอง”
น้ำที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศจะไหลผ่านถังกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสม น้ำที่ผ่านเครื่องกรองนี้จะไม่มีสีและสามารถนำไปใช้อาบและชำระล้างได้ แต่ยังไม่เหมาะสำหรับการนำไปบริโภค ทางทีมงานวิจัยจึงได้พัฒนาอุปกรณ์เสริมขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง สำหรับในกรณีจำเป็นที่ต้องนำน้ำนั้นไปดื่ม โดยชุดกรองชุดนี้จะประกอบขึ้นแบบง่าย ๆ โดยเพิ่ม ไส้กรองเซรามิกส์ ฟิลเตอร์ ขนาดรูพรุน 0.3 ไมครอน ที่ใช้ในเครื่องกรองน้ำทั่ว ๆ ไป และมีจำหน่ายในร้านค้าและซุูเปอร์มาร์เกต ราคาตั้งแต่ 150-500 บาท แล้วแต่คุณภาพ ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับเชื้อโรคในน้ำ เพื่อให้น้ำมีสภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อการนำมาใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถกรองจุลินทรีย์บางชนิดออกได้
อย่างไรก็ตาม การจะนำน้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำฉุกเฉินไปบริโภคนั้นควรมีการฆ่าเชื้อ ด้วยการเติมคลอรีนหรือนำไปต้มเสียก่อน ทั้งนี้ ทีมงานวิจัยภายใต้การนำ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ กำลังทำการพัฒนาถ่านกัมมันต์ชนิดพิเศษที่สามารถใช้กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้อยู่
ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พร้อมจิตอาสาบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จะเริ่มผลิตเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินนี้ คาดว่าจะผลิตได้วันละ 35 เครื่อง และจะมอบเครื่องกรองน้ำให้แก่ ชุมชน หรือในศูนย์พักพิงที่ประสบปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ หากชุมชนใดสนใจนำไปพัฒนาใช้ต่อสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2988-3655 ต่อ 1105-7 สายตรง 0-2988-4023 สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
สำหรับผู้ที่ต้องการร่วมสมทบทุนสามารถร่วมบริจาคเงินได้ที่ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาหนองจอก ชื่อบัญชี ม.มหานครผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัย เลขที่ 217-4-11111-8
นับเป็นอีกหนึ่งหนทางของการอยู่รอดในสภาวะที่น้ำท่วมหนักเช่นนี้.
วิศวกรชำนาญการ
ในสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างอย่างนี้ นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนในเรื่องของที่อยู่อาศัยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบาธารณูปโภคพื้นฐานอย่าง “น้ำ” ที่ใช้สำหรับดื่มกิน และชำระล้างร่างกายอีกด้วย!!
หลายฝ่าย หลายหน่วยงาน ต่างร่วมแรงร่วมใจระดมความคิด ความสามารถในด้านต่าง ๆ สร้างสำนึกจิตอาสาขึ้นมาช่วยเหลือสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประสบภัยน้ำท่วมในยามคับขัน
ขณะที่หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหามีแต่น้ำท่วมขัง...และน้ำที่มีอยู่ก็เริ่มใช้ไม่ได้ บ้างมีสี มีกลิ่น จากน้ำที่เคยใสเปลี่ยนเป็นสีขุ่น ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ ด้วยเหตุนี้ บุคลากรที่มีจิตอาสาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน” ขึ้น
เครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉิน เป็นผลงานของ นายวาสนิธิ์ พญาปุโรหิต นายธีรภัทร์ ฉัตรทอง นายวรนล กิติสาธร นายอภิชัจ เจียรวิริยะนาถ 4 หัวเรือใหญ่ของทีมวิจัย และกลุ่มเพื่อนนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก ศูนย์วิจัยส่วนนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ (Applied Innovation Division : AID) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โดยมี ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม และ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ เป็นที่ปรึกษาของโครงการ
จริง ๆ แล้วการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภาวะน้ำท่วมที่ขาดแคลนน้ำใช้ น้ำเพื่อชำระล้างสิ่งต่าง ๆ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้น้ำไม่มีกลิ่น ไม่มีสี มีความสะอาดเพียงพอและสกปรกน้อยที่สุด เพราะหากผู้ประสบภัยน้ำท่วมใช้น้ำที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อนบ่อยครั้ง อาจไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ ทีมวิจัย เกริ่นนำ ก่อนช่วยกันอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินให้ฟังว่า
เครื่องกรองน้ำฉุกเฉินนี้ถูกออกแบบไว้ให้มีความสะดวกในการทำใช้ได้เอง ไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษอะไร ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นเป็นขนาดเล็กน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม เพื่อความสะดวกแก่การเคลื่อนย้าย ติดตั้งและซ่อมบำรุง สามารถกรองน้ำได้ครั้งละ 5 ลิตร ภายในครึ่งนาที
หลักการทำงานไม่สลับซับซ้อน อุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ เครื่องทรงกระบอก ความสูง 45 เซนติเมตร ขนาดบรรจุน้ำได้ 5 ลิตร อีกส่วนหนึ่งคือ กระบอก ความสูง 70 เซนติเมตร เพื่อบรรจุชุดกรองที่ได้ประยุกต์โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาพัฒนาไว้ในตัวกระบอก ซึ่งชั้นกรองแต่ละชั้นทำจากวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่ ประกอบด้วย หิน กรวด ชั้นทรายละเอียด และทรายหยาบ เพื่อทำการกรองสารแขวนลอยที่มีอยู่ในน้ำ และก่อนที่อินทรีย์สารจะทำให้เกิดสีจะถูกดูดซับโดยถ่านกัมมันต์
ถ่านกัมมันต์จริง ๆ แล้วไม่ได้แตกต่างจากถ่านที่เรารู้จักกันมากนัก เพียงแต่ถูกกระตุ้นหรือปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้มีศักยภาพในการดูดซับสารเจือปนต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำได้ ซึ่งชั้นกรองทั้งหลายเหล่านี้จะทำหน้าที่กรอง ดูดซับกลิ่น และปรับสภาพน้ำขุ่นให้กลายเป็นน้ำใสได้
อุปกรณ์ชุดนี้ ถูกออกแบบให้สามารถถอดทำความสะอาดล้างเองได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ เนื่องจากน้ำที่ใช้มีความขุ่นไม่เท่ากัน โดยผู้ใช้ต้องสังเกต หากปริมาณน้ำไหลออกมาช้ากว่าปกติ ก็สามารถถอดอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดได้ทันที
ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม กล่าวเสริมว่า เครื่องกรองน้ำประเภทนี้ น้ำจะไหลผ่านชั้นกรองด้วยการอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ส่งผลให้อัตราการผลิตน้ำได้ไม่สูงนัก ดังนั้น ปั๊มน้ำ จึงมีความจำเป็นในการเสริมเข้ามาในระบบ เพื่อใช้เป็นตัวส่งน้ำเข้าสู่ระบบและทำให้อัตราการผลิตน้ำด้วยเครื่องกรองน้ำนั้นสูงขึ้น
โดยจะเห็นได้ชัดว่า ถ้ายังมีกระแสไฟฟ้าใช้อยู่ในพื้นที่คงไม่ใช่เรื่องลำบากที่จะติดตั้งระบบเครื่องกรองน้ำเดิมที่มีอยู่ แต่ในเวลานี้พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ประสบอุทกภัยจะไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องหากลไกอื่นในการปั๊มน้ำส่งเข้าสู่ระบบเครื่องกรองน้ำที่จะต้องไม่อาศัยกระแสไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำที่ถูกจัดทำขึ้นนั้น จึงใช้ แรงลมที่มีอยู่ในกระบอกสูบลม ไปดันน้ำให้เข้าสู่เครื่องกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสมสำหรับการกรอง
หลักการทำงานจะอาศัยหลักการแทนที่น้ำของอากาศ ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานไม่ได้มีความสลับซับซ้อน เพียงแต่ต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตัวเครื่องกรองน้ำจะประกอบไปด้วยชั้นกรองต่าง ๆ เช่น ทรายหยาบ ทรายละเอียด และถ่านกัมมันต์ รวมถึงใยกรองต่าง ๆ ส่วนที่สอง เป็นส่วนของอุปกรณ์ส่งน้ำซึ่งประกอบไปด้วยปั๊มลมที่ต่อเข้ากับภาชนะบรรจุน้ำขนาด 5 ลิตร โดยการใช้งานนั้นสามารถทำได้โดยการปั๊มลมเข้าสู่ภาชนะที่บรรจุน้ำอยู่ โดยการปั๊มลมนี้ไม่ต่างอะไรจากการสูบลมเข้าจักรยานนั่นเอง”
น้ำที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศจะไหลผ่านถังกรองน้ำด้วยอัตราการไหลที่เหมาะสม น้ำที่ผ่านเครื่องกรองนี้จะไม่มีสีและสามารถนำไปใช้อาบและชำระล้างได้ แต่ยังไม่เหมาะสำหรับการนำไปบริโภค ทางทีมงานวิจัยจึงได้พัฒนาอุปกรณ์เสริมขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง สำหรับในกรณีจำเป็นที่ต้องนำน้ำนั้นไปดื่ม โดยชุดกรองชุดนี้จะประกอบขึ้นแบบง่าย ๆ โดยเพิ่ม ไส้กรองเซรามิกส์ ฟิลเตอร์ ขนาดรูพรุน 0.3 ไมครอน ที่ใช้ในเครื่องกรองน้ำทั่ว ๆ ไป และมีจำหน่ายในร้านค้าและซุูเปอร์มาร์เกต ราคาตั้งแต่ 150-500 บาท แล้วแต่คุณภาพ ทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับเชื้อโรคในน้ำ เพื่อให้น้ำมีสภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อการนำมาใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งสามารถกรองจุลินทรีย์บางชนิดออกได้
อย่างไรก็ตาม การจะนำน้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำฉุกเฉินไปบริโภคนั้นควรมีการฆ่าเชื้อ ด้วยการเติมคลอรีนหรือนำไปต้มเสียก่อน ทั้งนี้ ทีมงานวิจัยภายใต้การนำ รศ.ดร.วิษณุ มีอยู่ กำลังทำการพัฒนาถ่านกัมมันต์ชนิดพิเศษที่สามารถใช้กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้อยู่
ต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร พร้อมจิตอาสาบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จะเริ่มผลิตเครื่องกรองน้ำแบบฉุกเฉินนี้ คาดว่าจะผลิตได้วันละ 35 เครื่อง และจะมอบเครื่องกรองน้ำให้แก่ ชุมชน หรือในศูนย์พักพิงที่ประสบปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ หากชุมชนใดสนใจนำไปพัฒนาใช้ต่อสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2988-3655 ต่อ 1105-7 สายตรง 0-2988-4023 สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
สำหรับผู้ที่ต้องการร่วมสมทบทุนสามารถร่วมบริจาคเงินได้ที่ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาหนองจอก ชื่อบัญชี ม.มหานครผลิตเครื่องกรองน้ำเพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัย เลขที่ 217-4-11111-8
นับเป็นอีกหนึ่งหนทางของการอยู่รอดในสภาวะที่น้ำท่วมหนักเช่นนี้.