รายงานโดย : ชลธิชา ศรีอุบล
กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
ปัจจุบันราคาก๊าซหุงต้มมีการปรับราคาที่สูงขึ้นทุกเดือน เดือนละห้าสิบสตางค์ต่อกิโลกรัม และมีแนวโน้มที่จะปรับไปเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลทำให้ภาระค่าครองชีพของครัวเรือนจึงสูงมากขึ้นตามไปด้วย
ปัญหาดังกล่าวทำให้ทีมวิจัยประกอบด้วย ธำรงศักดิ์ โพธิ์ศรีรหัส ,กรกฤษ เชื้อชัยนาท, ธงชัย มิดชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยมีอาจารย์ชัยรัตน์ หงษ์ทอง เป็นที่ปรึกษา เกิดแนวคิดที่จะนำน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการยีตาลมาผลิตก๊าซเพื่อใช้ในครัวเรือน
สมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่า เนื่องจากที่บ้านมีอาชีพยีตาล เพื่อเอาเนื้อตาลไปขาย กระบวนการในการยีตาลต้องมีน้ำเสียทิ้งทุกวัน โดยทิ้งน้ำเสียไว้ในบ่อหลังบ้าน จึงเกิดแนว คิดที่จะนำมาศึกษาและพัฒนาเป็นพลังงานทางเลือกได้
ทีมวิจัย ทดลองผลิตก๊าซชีวภาพที่ได้จากบ่อน้ำเสียของกระบวนการยีตาล โดยเริ่มจากการสังเกตบ่อน้ำเสียจากการยีตาลว่ามีขนาดเท่าไร จากนั้นนำผ้าใบมาทำการตัดให้ได้ขนาดกับบ่อน้ำเสียที่ได้จากการยีตาลและคลุมลงไปบนบ่อน้ำเสีย เพื่อเก็บก๊าซที่ลอยขึ้นมา โดยก๊าซที่ลอยขึ้นมาเรียกว่า “ก๊าซชีวภาพ”
- See more at: http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/538782#sthash.8mokfeuY.dpuf
จากนั้นนำท่อ PVC มาเจาะรู (เพื่อให้น้ำเข้าไปในท่อ) พร้อมกับตรึงติดกับผ้าใบทั้ง 4 ด้านเพื่อไม่ให้ก๊าซที่เกิดขึ้นไหลออกไปจากบ่อก๊าซ โดยทำการต่อท่อและสายลำเลียงก๊าซไปใช้ในครัวเรือน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 วันก็จะได้ก๊าซที่พร้อมใช้สำหรับงานหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งรองรับกับหัวแก๊สพิเศษที่ใช้สำหรับก๊าซชีวภาพโดยตรง นางประนอม โพธิ์ศรี ผู้ปกครองของผู้วิจัยและเจ้าของบ้านที่ได้ทดลองใช้ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของการยีตาล กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทดลองใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเวลา 3 เดือน ลดค่าใช้จ่ายได้มาก เนื่องจากก๊าซหุงต้มที่ใช้ปกติจะใช้ 1 ถัง /1เดือน บวกกับราคาก๊าซที่ขึ้นทุกเดือน ถือว่าเป็นการประหยัดและสามารถนำน้ำเสียจากการยีตาลมาใช้ประโยชน์ เพราะว่า ที่บ้านต้องยีตาล เพื่อเอาเนื้อตาลส่งตลาดทุกวัน ผลจากการเก็บข้อมูลพบว่า ในครัวเรือนจะใช้ก๊าซหุงต้มเฉลี่ย 31 วันต่อถัง 15 กิโลกรัม ดังนั้นจึงนำก๊าซชีวภาพที่ได้มาทำการประกอบอาหารแทนก๊าซหุงต้ม เมื่อนำมาคำนวณค่าใช้จ่าย เทียบกับที่ต้องจัดซื้อก๊าซหุงต้มสามารถประหยัดได้เดือนละ 310 บาท ใน 1 ปีสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 3,720 บาทต่อปี องค์ความรู้ดังกล่าวหากนำไปขยายผลจะทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อก๊าซหุงต้ม รวมทั้งเป็นการนำเอาของเสียมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยค่าวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของการยีตาลไม่แพงเพียง 2,000 บาท สนใจโทร. 085 2313 747
ขอบคุณข้อมูลจาก http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/538782