เปลี่ยนทรายกรองน้ำประปาหมู่บ้าน

ทำความสะอาดแท้งค์สูงล้างระบบประปา

เปลี่ยนทรายกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตั้งและเปลี่ยนสารในถังกรอง

ติดตั้งถังกรอง

เปลี่ยนสารกรองน้ำ

เปลี่ยนสารกรองน้ำโรงงานอุตสาหกรรม

เปลี่ยนสารกรองน้ำ เปลี่ยนสารกรองน้ำ
free glitter text and family website at FamilyLobby.com

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รายงานโดย : ชลธิชา ศรีอุบล
กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
ปัจจุบันราคาก๊าซหุงต้มมีการปรับราคาที่สูงขึ้นทุกเดือน เดือนละห้าสิบสตางค์ต่อกิโลกรัม และมีแนวโน้มที่จะปรับไปเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลทำให้ภาระค่าครองชีพของครัวเรือนจึงสูงมากขึ้นตามไปด้วย
ปัญหาดังกล่าวทำให้ทีมวิจัยประกอบด้วย ธำรงศักดิ์ โพธิ์ศรีรหัส ,กรกฤษ เชื้อชัยนาท, ธงชัย มิดชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยมีอาจารย์ชัยรัตน์ หงษ์ทอง เป็นที่ปรึกษา เกิดแนวคิดที่จะนำน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการยีตาลมาผลิตก๊าซเพื่อใช้ในครัวเรือน
สมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่า เนื่องจากที่บ้านมีอาชีพยีตาล เพื่อเอาเนื้อตาลไปขาย กระบวนการในการยีตาลต้องมีน้ำเสียทิ้งทุกวัน โดยทิ้งน้ำเสียไว้ในบ่อหลังบ้าน จึงเกิดแนว คิดที่จะนำมาศึกษาและพัฒนาเป็นพลังงานทางเลือกได้
ทีมวิจัย ทดลองผลิตก๊าซชีวภาพที่ได้จากบ่อน้ำเสียของกระบวนการยีตาล โดยเริ่มจากการสังเกตบ่อน้ำเสียจากการยีตาลว่ามีขนาดเท่าไร จากนั้นนำผ้าใบมาทำการตัดให้ได้ขนาดกับบ่อน้ำเสียที่ได้จากการยีตาลและคลุมลงไปบนบ่อน้ำเสีย เพื่อเก็บก๊าซที่ลอยขึ้นมา โดยก๊าซที่ลอยขึ้นมาเรียกว่า “ก๊าซชีวภาพ”
- See more at: http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/538782#sthash.8mokfeuY.dpuf
จากนั้นนำท่อ PVC มาเจาะรู (เพื่อให้น้ำเข้าไปในท่อ) พร้อมกับตรึงติดกับผ้าใบทั้ง 4 ด้านเพื่อไม่ให้ก๊าซที่เกิดขึ้นไหลออกไปจากบ่อก๊าซ โดยทำการต่อท่อและสายลำเลียงก๊าซไปใช้ในครัวเรือน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 วันก็จะได้ก๊าซที่พร้อมใช้สำหรับงานหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งรองรับกับหัวแก๊สพิเศษที่ใช้สำหรับก๊าซชีวภาพโดยตรง นางประนอม โพธิ์ศรี ผู้ปกครองของผู้วิจัยและเจ้าของบ้านที่ได้ทดลองใช้ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของการยีตาล กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทดลองใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเวลา 3 เดือน ลดค่าใช้จ่ายได้มาก เนื่องจากก๊าซหุงต้มที่ใช้ปกติจะใช้ 1 ถัง /1เดือน บวกกับราคาก๊าซที่ขึ้นทุกเดือน ถือว่าเป็นการประหยัดและสามารถนำน้ำเสียจากการยีตาลมาใช้ประโยชน์ เพราะว่า ที่บ้านต้องยีตาล เพื่อเอาเนื้อตาลส่งตลาดทุกวัน ผลจากการเก็บข้อมูลพบว่า ในครัวเรือนจะใช้ก๊าซหุงต้มเฉลี่ย 31 วันต่อถัง 15 กิโลกรัม ดังนั้นจึงนำก๊าซชีวภาพที่ได้มาทำการประกอบอาหารแทนก๊าซหุงต้ม เมื่อนำมาคำนวณค่าใช้จ่าย เทียบกับที่ต้องจัดซื้อก๊าซหุงต้มสามารถประหยัดได้เดือนละ 310 บาท ใน 1 ปีสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 3,720 บาทต่อปี องค์ความรู้ดังกล่าวหากนำไปขยายผลจะทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อก๊าซหุงต้ม รวมทั้งเป็นการนำเอาของเสียมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยค่าวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของการยีตาลไม่แพงเพียง 2,000 บาท สนใจโทร. 085 2313 747 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/538782

วศ.คืนความสุขให้ชุมชนได้น้ำดี

ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานมอบชุดทดสอบความกระด้างในน้ำเพื่อประชาชน ภายใต้นโยบายของรัฐบาลเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี นายจังหวัด วงศ์ก่อ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากกแดง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเซกา ตำบลโสกก่าม ตำบลโป่งไฮ และประชาชนในอำเภอเซกา ให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนหนองหิ้งพิทยา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ กล่าวว่า ด้วยรัฐบาลมีนโยบายการบริหารราชการ เพื่อปฏิรูปประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ทุกภาคส่วนบูรณาการดำเนินงานกิจกรรมซึ่งมีเป้าหมายต้องการให้เป็นสังคมสงบสุข รวมทั้งมุ่งพัฒนาเสริมสร้างรากฐานความมั่นคงให้ประชาชนคนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งภายใต้โครงการคืนความสุขกรมวิทยาศาสตร์บริการให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนมีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่มีความสะอาดไม่มีสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ น้ำดื่มสะอาดต้องใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีตะกอน ไม่มีเชื้อโรค หรือโลหะหนัก หรือสารปนเปื้อนที่เป็นพิษในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนตามข้อกำหนดมาตรฐาน
- See more at: http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/626529#sthash.jr6yTzI8.dpuf
ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์บริการได้มีการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำเครื่องกรองน้ำทั้งระดับชุมชนและระดับครัวเรือน และในปีใหม่นี้ได้จัดทำชุดทดสอบความกระด้างในน้ำมอบให้แก่ผู้ประกอบการสินค้า OTOP และประชาชน ภายใต้โครงการคืนความสุขด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นการยกระดับงานบริการเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยทำการมอบให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP และประชาชนในพื้นที่ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ในวันนี้เป็นที่แรก และจะทยอยส่งมอบชุดทดสอบความกระด้างในน้ำให้กับประชาชน ในพื้นที่ต่างๆ เช่น จังหวัด หนองคาย ขอนแก่น ยโสธร เชียงราย แพร่ ลำปาง สระบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช โดยประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นเครือข่ายต่อไป
ทั้งนี้ประชาชนสามารถใช้ชุดทดสอบนี้ตรวจสอบคุณภาพน้ำได้เองว่าน้ำดื่มมีความกระด้างหรือมีหินปูนหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของหินปูน ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนิ่วได้
นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ว่า การจัดทำชุดทดสอบความกระด้างในน้ำมอบให้ผู้ประกอบการ OTOP และประชาชนครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ ความตระหนักในเรื่องการตรวจสอบความกระด้างในน้ำ และการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องกรองน้ำ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนที่มีเครื่องกรองน้ำดื่มติดตั้งไว้ในครัวเรือน ยังให้ความสำคัญในเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องกรองน้ำค่อนข้างน้อย ทำให้เครื่องกรองน้ำไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในการใช้ชุดทดสอบความกระด้างในน้ำตรวจสอบคุณภาพน้ำ เมื่อหยดน้ำยาที่อยู่ในชุดทดสอบลงไปในน้ำที่ไม่มีความกระด้าง น้ำจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีฟ้า หากในน้ำมีความกระด้างจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง แสดงว่าน้ำนั้นไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ จึงควรดูแลรักษา ล้างเครื่องกรองน้ำ หรือเปลี่ยนไส้กรองน้ำ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/626529

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เครื่องดักไขมัน แก้ปัญหากลิ่นน้ำเสีย



'เครื่องดักไขมัน' แก้ปัญหากลิ่นน้ำเสีย

เนื่องจากโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา จังหวัดเลย มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น ซึ่งมาจากการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงอาหาร เนื่องจากโรงอาหารของโรงเรียนนั้นมีการปล่อยน้ำเสียออกมาทุกวัน และน้ำเสียที่ออกมาก็ได้รวมตัวกันอยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสีย ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์
ทีมนักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา จำนวน 3 คน ได้แก่ นายณรงค์ฤทธิ์ ฮดฤาชา นางสาวนันทวัน สิงหาคุณ และนางสาวออนกิริยา อุทะเสน จึงได้จัดทำ โครงงาน “เครื่องดักไขมัน” เพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ โดยมีคุณครูวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ได้แก่ ครูนิจวรรณ พิมคีรี และครูราตรี จันทะมลเป็นที่ปรึกษา
การเตรียมความพร้อมก่อนที่จะทำโครงงาน เริ่มจาก ทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของ โรงอาหาร โดยเฉพาะเส้นทางน้ำเสียในโรงอาหารที่ไหลลงไปยังบ่อบำบัด เพื่อคิดหากระบวนการทำงานให้เป็นระบบ นอกจากนั้น ได้มีการศึกษาหาความรู้ในเรื่องของกระบวนการกรองน้ำเสีย ปริมาณน้ำเสีย ได้มีการตรวจวัดปริมาณไขมันที่ได้จากน้ำเสีย ดูสถานที่ในการติดตั้งเครื่องและกำหนดขอบเขตเวลาในการทำงาน พร้อมทั้งวางแผนออกแบบเครื่องดักไขมัน
ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากออกแบบเครื่องกรองน้ำเสีย นั้น ได้มีการหาทำเลที่วางเครื่องดักไขมัน สร้างเครื่องดักไขมัน ตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง ความรู้ที่ใช้ อาทิ การวิเคราะห์น้ำมันและไขมัน สมบัติของของเหลว หลักการของแบร์นูลลี หลักการจัดการน้ำเสีย คุณสมับติหลักทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำ
ผลจากการทดลองใช้เครื่องดักไขมันที่ประดิษฐ์ขึ้นเองนี้ พบว่า ค่าความเป็นกรด – เบส หรือค่า pH ของน้ำเสียจากโรงอาหารที่เก็บตัวอย่างในเดือนมิถุนายน 2556 จาก 6.67 เพิ่มเป็น 7.20 ทำให้ค่า pH ของน้ำดีขึ้น และปริมาณไขมันเฉลี่ยลดลง โดยดักไขมันได้ร้อยละ 72.45